ภาษาอีสานทั้งหมด 9591 - 9600 จาก 17431

  • หทย
    แปลว่า : หัวใจ ใจ (ป. หทย ส. หฺฤทย) หทัย หือระทัย ก็ว่า อย่างว่า ภูมีท้าวหือระทัยฮักยิ่ง ทอมลูกแก้วถนอมไว้บ่ไล (กา).
  • หน
    แปลว่า : ทาง ทิศ เช่น ทางเหนือเรียก หนเหนือ ทิศใต้ เรียก หนใต้ อย่างว่า ค้อมฮ่ำแล้วลาราชปรางค์ทอง ฮวายมนต์โอมแอ่วโพยมยังฟ้า แยงหนท้องกะไดทองเทวราช พ้นกลีบฟ้าเขียวดั้นดุ่งเถิง (สังข์).
  • หน
    แปลว่า : ถอย กลับ เช่น ทำไม่ถอย เรียก เฮ็ดบ่หน รบไม่ถอย เรียก สู่บ่หน อย่างว่า พร้อมพวกสู้บาท้าวบ่หน (หน้าผาก).
  • หน้ง
    แปลว่า : ไม่ชัด เพี้ยน แปร่ง เช่น พูดเมืองเป็นเมื้อง เสียงเป็นเสี้ยง เรียก เว้าหน้ง.
  • หนวก
    แปลว่า : ไม่ได้ยิน เช่น หูตึงไม่ได้ยินเสียง เรียก หูหนวก อย่างว่า หูหนวกเว้าสามหาว ตาบอดเว้าแส่วดาว (ภาษิต).
  • หน่วง
    แปลว่า : ดึงไว้แต่น้อยๆ เหนี่ยวไว้ ทำให้ช้า เจ็บหนัก เช่น เจ็บปวดหนัก เรียก เจ็บหน่วง อย่างว่า ท้องเจ้าหน่วงแขวนถ่วงนั่งตั่ง (บ.).
  • หน้วง
    แปลว่า : เครื่องดักหนูชนิดหนึ่ง ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ มีคันและสายรอบกระบอกภายใน เรียก หน้วง.
  • หน่วย
    แปลว่า : ผลไม้หรือสิ่งที่มีลักษณะเหมือนผลไม้ เรียก หน่วย เช่น หมากพร้าวหนึ่งหน่วย หมากแตงหนึ่งหน่วย หมากอึหนึ่งหน่วย บาตรหนึ่งหน่วย หม้อหนึ่งหน่วย แก้วหนึ่งหน่วย อย่างว่า เห็นว่าได้หน่วยแก้วอย่าฟ้าวเปิบใจหัว ลางเทื่อใสฮงฮงหน่วยขวางใผชิฮู้ (กลอน).
  • หน้วยหน้วย
    แปลว่า : เชื่องช้า เช่น เดินเชื่องช้า เรียก ย่างหน้วยหน้วย อย่างว่า ย่างหน้วยหน้วยคือนายแท้นอห่า ย่างบาดช้าคือช้างแกว่งหาง (บ.).
  • หน่อ
    แปลว่า : พืชที่งอกออกมาจากเมล็ด จากกอ จากเหง้าของต้น เรียก หน่อ เช่น หน่อมี้ หน่อม่วง หน่อจิก หน่อฮัง หน่อบก หน่อบาก หน่อกล้วย เป็นต้น.