ภาษาอีสานหมวด "ก" 1331 - 1340 จาก 1872

  • กู
    แปลว่า : คำแทนชื่อผู้พูด จะใช้คำใดคำหนึ่งก็ได้ ว่าฉัน, ข้า, กู หมายถึงตัวผู้พูดทั้งนั้นอย่างว่า เทื่อนี้กูแอ่วได้โดยประโยชน์อันคนิง แลเด มันก็ฮวายอาคมผาบผีชุมเชื้อ เมื่อนั้นผีเมืองย้านยักโขขามเดช เลยเล่าละหน่อแก้วกลางห้องพ่ายพัง (สังข์).
  • กู้
    แปลว่า : เก็บ เก็บสิ่งของที่ใช้คืนมาไว้ที่เดิมเรียก กู้ เช่นเก็บเสื้อผ้าที่ตากไว้ เรียก กู้เสื้อกู้ผ้า กางหูกแล้วม้วนไว้ เรียก กู้หูก ดักลอบดักไชแล้วเก็บไว้ เรียก กู้ลอบกู้ไซ.
  • กู้
    แปลว่า : ยืม การยืมสิ่งของมากินมาใช้ เรียก กู้เข้ากู้ของ.
  • กู้
    แปลว่า : เรียกให้กลับมาเรียก กู้เฮียก อย่างว่า เมื่อนั้นภูเบศรเจ้าชมชอบหุมหัว เฮาก็มาเอาอาแต่กุมภัณฑ์เถ้า ท่อว่ายังแนวน้องสายนามนางแม่ มานั้น อาแอ่วให้นำกู้เฮียกโฮม ว่าดาย (สังข์).
  • กูก
    แปลว่า : เรียก, ร้อง การร้องเรียกหาเรียก กูก เอิ้น เอิน ก็ว่า อย่างว่า มันก็ลัดล่วงดั้นดงไม้กูกหา (กา).
  • กู่ซู่
    แปลว่า : อาการก้มหมอบยอบตัวของผู้ใหญ่เรียก ก้มกู่ซู่ ของเด็กว่า ก่อซ่อ.
  • กูด
    แปลว่า : ชื่อเถาวัลย์ชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับผูกมัดหรือถักเชือกได้ เรียก เครือกูด.
  • กูด
    แปลว่า : ชื่อผักชนิดหนึ่ง ยอดอ่อนใช้เป็นผักกินได้ เรียก ผักกูด.
  • กูด
    แปลว่า : หางเสือเรือ หางเสือเรือเรียก กูด เฮือ จังกูด (ข.) ก็ว่า อย่างว่า เดียวนี้เสียกูดท้าย โทมชิป้องก็บ่มี (สุด).
  • กูด
    แปลว่า : หงิก, งอ ผมที่หงิกหรืองอ เรียก ผมกูด คนที่มีผมกูด เรียกว่า หัวกูด.