ภาษาอีสานหมวด "ก" 1311 - 1320 จาก 1872
-
กุ่ยทุ่ย
แปลว่า : สีอย่างหนึ่ง เช่น สีเหลืองปนขาว เรียก สีกุ่ยทุ่ย. -
กุยเหี้ย
แปลว่า : วิ่งจนสุดกำลัง เช่น เหี้ยวิ่งหนีตาย เรียก กุยเหี้ย. -
กุยเฮ็ง
แปลว่า : เสื้อชั้นนอกแบบจีน เรียก เสื้อกุยเฮ็ง. -
กุลวงศ์
แปลว่า : วงศ์สกุล ผู้เป็นหน่อเนื้อพระพุทธเจ้า เรียก กุลวงศ์ อย่างว่า พระนี้ธรรมชาติเชื้อแนวหน่อกุลวงศ์ ใผหากทำเวราบาปเวรแสนตื้อ ใผผู้ยอน้อมมีคุณแสนโกฏิ นับบ่ถ้วนเหลือล้นแผ่นไตร (สังข์). -
กุลา
แปลว่า : กุหล่า ชนจำพวกต้องสู้เรียก กุลา กุลากับม่านก็คือชนชาติพม่า ผู้ชายพม่าชอบสักขาและสักคอ สีที่ใช้สักชอบใช้สีชาด สีชาดอีสานเรียก น้ำหาง ลายที่สักจะมีสีแดง ดังนั้นคนอีสานจึงเรียกพม่าว่ากุลาขาก่าน ม่านคอลายใบหูของผู้ชายพม่าชอบเจาะรูหูสำหรับใส่ต้างหรือกระจอนยอย. -
กุลา
แปลว่า : ทุ่งใหญ่ ทุ่งใหญ่อยู่ในเขตอีสานมี ๕ จังหวัดล้อมรอบ คือ ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีษะเกษ สุรินทร์ มหาสารคาม มีเนื้อที่หนึ่งล้านไร่เศษคนเก่าเล่าว่าพวกกุลาหาบฆ้องมาขายในอีสานเมื่อเดินผ่านทุ่งนี้ข้ามไม่พ้น จึงทิ้งหาบฆ้องนั่งร้องไห้ คนจึงเรียกทุ่งนี้ว่า ท่งกุลาฮ้องไห้. -
กุลี
แปลว่า : คนรับจ้างทำงานหนัก เกี่ยวกับการหาบหาม เช่น หาบของหนักๆ ไปขายในที่ไกลๆ เรียก กุลี. -
กุลี
แปลว่า : ผ้าขาว ผ้าลาย นับจำนวนได้ ๒๐ ผืน เรียก หนึ่งกุลี. -
กุลียุค
แปลว่า : กลียุค ยุคที่เต็มไปด้วยไปด้วยการรบราฆ่าฟันกัน คนเห็นชีวิตเป็นผักปลาเนื้อเรียก กลียุค กียุค ขียุค ก็ว่า อย่างว่า ลอนว่ากียุคก้ำเป็นพระบาท บ่หลีกได้ตูข้อยค่อยฝืน (ฮุ่ง). ขียุคขำเขือกฮ้อนเมืองบ้านบ่ชุ่มเย็น (ปัสเสน). -
กุเวร
แปลว่า : ชื่อท้าวจาตูมมหาราชองค์หนึ่งประจำทิศอุดร ท้าวเวสสุวัณ ก็เรียก (ป.ส.).