ภาษาอีสานหมวด "ก" 1521 - 1530 จาก 1872

  • ไกสร (สิงโต)
    แปลว่า : สิงโต สิงโตเรียก ไกสร อย่างว่า แม้นว่าสัพพะสิ่งช้างเดียระดาษแสนสัตว์ ไกสรสีห์ซู่คณาเนืองเฝ้า เสือสางเหม้นเหมือยหมีหมาป่าก็มา ลิงวอนเต้นโตนค้างค่างชะนี ฯ เห็นทังนิโครธไม้พันพุ่งไพรขวาง เห็นทังคูหาแก้วไกสรแสนส่ำ เฮืองฮุ่งเข้มไขพ้นพุ่งโพยม (สังข์).
  • กิน
    แปลว่า : กินหมายถึงทั้งกินทั้งใช้สอย อย่างว่า กินของตัวเองทำให้คนอื่น เรียก กินข้าวโตโสความเพิ่น กินพร่ำเพรื่อ เรียก กินมำมำ กินไม่รู้จักแบ่งปัน เรียก กินผู้เดียวงูเขียวเกี้ยว กินไม่รู้จักอิ่ม เรียก กินได้ไส้ยาว กินข้าวไม่ใส่กับ เรียก กินในดอก กินดายดอก ก็ว่า
  • กุลา
    แปลว่า : ทุ่งใหญ่ เรียกท่งกุลาฮ้องไห้ พยัคฆภูมิ ทุ่งปู่ป๋าหลานก็ว่า ที่เรียกพยัคฆภูมิน่าจะเป็นเพราะมีดงใหญ่ใกล้ทุ่งที่เต็มไปด้วยสัตว์ดุร้าย ที่เรียกท่งปู่ป๋าหลาน คงจะหมายเอาปู่กับหลานเดินข้ามทุ่งนี้ เมื่อปู่จะคอยหลานก็กลัวจะค่ำมืดเสียก่อน ต้องรีบเดินจึงทิ้งหลานไว้
  • กู่
    แปลว่า : อาศรม, ศาลา, ปราสาทที่มียอดสูง อย่างว่า ทันที่คำเหลืองเหลื้อมพรายพรายแก้วกู่ที่นั้นท้าวยี่ผู้แพงล้านพ่อฮา หั้นแล้ว (ฮุ่ง)
  • กิ่ง
    แปลว่า : คำลักษณะนามของรองเท้า
  • การสูตรขวัญ
    แปลว่า : ผู้ที่จะสูตรขวัญสมัยโบราณมีหนังสือสูตรขวัญเป็นหนังสือใบลานจารด้วยตัวธรรมหรือตัวไทยน้อย เวลาสูตรจะกางหนังสือออกเหมือนกับพระเทศน์ สมัยนี้หมอสูตรขวัญนิยมสูตรปากเปล่า ไม่มีหนังสือไปด้วย.
  • ก้มซ่วมง่วม
    แปลว่า : ก้มจนตัวงองุ้ม
  • คนฮู้
    แปลว่า : ว่านอนสอนง่าย, เป็นคนดี, รู้จักกาลเทศะ
  • แหงด
    แปลว่า : กลิ่นเหม็นฉุน, กลิ่นฉุน, เหม็นสาบ
  • กะส่างแม่มันเถาะ
    แปลว่า : ก็ช่างแม่มึงเถอะ, ช่างแม่ง เป็นคำสบถเมื่อรู้สึกไม่ได้ดังใจหรือทำอะไรไม่ได้แล้ว