ภาษาอีสานหมวด "ก" 311 - 320 จาก 1872

  • กรก
    แปลว่า : ลูกเห็บ กรกวรรษ ฝนลูกเห็บ (ป.ส.).
  • กรกฎ
    แปลว่า : ปู ลักษณะของปูอ่อนในแข็งนอกเดินคดไปคดมา ก้าวไปสองก้าว ก้าวกลับหนึ่งก้าว.
  • กรกฎาคม
    แปลว่า : เดือนกรกฎาคม อีสานเรียกเดือนแปด เรียกเดือนที่ ๔ ตามสุริยคติ.
  • กรณี
    แปลว่า : คดี, เรื่อง, เหตุ (ป.ส.).
  • กรณียกิจ
    แปลว่า : กิจอันควรทำ, ธุระอันควรทำ, หน้าที่อันควรทำ. (ป.).
  • กรณียะ
    แปลว่า : ควรทำ, พึงทำ (ป.).
  • กรด
    แปลว่า : ธาตุผสมมีหลายอย่าง เช่น น้ำกรด เป็นต้น.
  • กรน
    แปลว่า : หายใจเสียงดังในลำคอเมื่อเวลานอนหลับ เรียก กรน อย่างว่า ฟังยินเสียงกรนก้องคุงบนคีคื่น (กา) เมื่อนั้นยักษ์ใหญ่ฮู้นางเคียดคุงใจ มันก็โลมนางหลับแค่ปรางค์ดอมน้อง ฟังยินเสียงกรนก้องพระมุณเทียรทีโทด คือคู่กุญชราชฮ้องเสียงก้องคั่งบน แท้แล้ว (สังข์).
  • กรบูร
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง กลั่นเอายางทำยาได้ เรียก กรบูร การบูร ก็ว่า.
  • กรภ
    แปลว่า : 1.หลังมือ 2.งวงช้าง 3.ลูกช้าง 4.ลูกอูฐ 5.อูฐทั่วไป 6.ของหอมชนิดหนึ่ง 7.ตะโพก (ส.). 8.ชื่อนักบัตรที่ ๑๓ อีกอย่างหนึ่งเรียก หัสตะ (ป.).