ภาษาอีสานหมวด "ก" 321 - 330 จาก 1872
-
กรม
แปลว่า : 1.)แผนกย่อยที่ แยกจากกระทรวงหรือทบวงเรียกว่ากรม เช่นกรมการปกครอง กรมศาสนา กรมที่ดิน กรมตำรวจ เป็นต้น. 2.)อิศริยยศที่ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินทรงแต่งตั้ง เช่น กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมพระยา กรมสมเด็จเจ้าพระยา. -
กรมธรรม์
แปลว่า : เอกสารกู้หนี้ยืมสิ้น, สัญญาซื้อขายทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์, เอกสารในการประกันภัย เช่น กรมธรรม์ประกันชีวิต เป็นต้น -
กรรณิกา
แปลว่า : ช่อฟ้า, ฝักบัว, เครื่องประดับหู (ป.). -
กรรณิการ์
แปลว่า : ชื่อไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งกลีบขาว ดอกหอม ใบคาย ก้านดอกสีแสด ใช้ย้อมผ้าก็ได้ ใช้ประดับก็ได้ เรียก กรรณิการ์ กรณิการ์ กณิการ์ ก็ว่า อย่างว่า กณิการ์เกียงดอกดวงดูล้น ภูชัยท้าวเดินเดียวชมดอก คือดั่งดอกกลิ่นแก้มเมียแก้วอยู่เฮือน (กา). -
กรรม์
แปลว่า : กรรม. -
กรรม
แปลว่า : 1.)การ, การงาน, การกระทำ, กิจ แยกแยกกรรมออกเป็น ๓ คือ กายกรรมงานมือ วจีกรรมงานพูด มโนกรรม งานคิด อย่างว่า งานคึดงานเว้างานทำคู่อย่าง บูฮาณเฮียกเอิ้นโฮมเว้าว่ากรรม (บ.). 2.)บุญคือการทำความดี บาปคือการทำความชั่ว บุญบาปติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือชั่ว เรียก กรรม อย่างว่าบุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น บุญบ่ให้เขาชิใช้ตั้งแต่เฮา (ภาษิต) บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม(ภาษิต). 3.)เคราะห์ คือสิ่งที่ไม่สมหวังเรียก กรรม เช่น ชูชกได้เมียสาว ถูกเมียบังคับให้ไปขอกัณหาชาลีมาเป็นทาส เมื่อพระเวสสันดรให้โอรสและธิดาแล้วแนะนำให้ชูชกไปเมืองปู่ เพื่อพระเจ้าปู่จะได้ไถ่ถอนหลาน แต่ชูชกไม่กล้าไปเกรงจะถูกเคราะห์กรรม (เวส-กลอน) 4.)ผลของความดีหรือชั่วที่ตนทำในอดีตตามให้ผลเรียก กรรม อย่างว่า ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต). กรรมแบ่งบั่นปั่นป่อนมาพบ บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ (บ.). 5.)คนตายเรียก ถึงแก่กรรม อย่างว่า ชื่อว่ากรรมเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีใผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา (บ.) ชื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ใผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว (บ.). -
กรรมกร
แปลว่า : คนงาน, คนรับจ้างทำงาน เช่น ชาวนา ชาวสวน เป็นต้น. -
กรรมกรณ์
แปลว่า : ลงโทษ ได้แก่การลงโทษผู้ทำความผิด โดยการจำคุก ๑ ปรับไหม ๑ ทั้งจำคุกทั้งปรับ ๑ ประหารชีวิต ๑. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา ได้แก่ตัวบทกฎหมายที่ลงโทษแก่บุคคลที่ทำความผิด โดยสมควรแก่โทษานุโทษ. -
กรรมการ
แปลว่า : บุคคลที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการทำงานของรัฐ ของเอกชน ขององค์การ ของบริษัท ห้าง ร้าน หรือการสาธารณกุศลเรียก กรรมการ. -
กรรมการเฉพาะกิจ
แปลว่า : กรรมการที่ได้รับเลือกแต่งตั้งให้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น งานปราบปราม งานปลูกต้นไม้.