ภาษาอีสานหมวด "ก" 361 - 370 จาก 1872

  • กระกูล
    แปลว่า : ตระกูล, เชื้อ, สาย, เหล่า, กอ, เผ่าพันธุ์เรียก กระกูล สกุล ตระกูล ก็ว่า อย่างว่า พระยานาคน้าวกลอนถี่ถามดู กุมารมาแต่ใดเถิงข้อย นั่นเด จักว่าเป็นแนวเชื้อกะกูลนามในทีปใดเด เจ้าพ่อทรงเดชได้เดินดั้นฮอดเฮา นี้นา (สังข์) .
  • กระเกรียม
    แปลว่า : ตระเตรียม การจัดแจงหรือทำไว้ล่วงหน้าเรียก กระเกรียม อย่าว่า เกรียมใจไว้ประสงค์แนวนามต่าง เว้าชู้ต่างบ้านเมืองชิกว้างกว่าหลัง (บ.).
  • กระจก
    แปลว่า : กระจกเงา กระจกสำหรับส่องดูเงาหน้า เรียก กระจก แว่นแยงเงา ก็ว่า.
  • กระจวน
    แปลว่า : ผง, เกสร อย่างว่า นางก็เอากระจวนจันทน์คันธรส บดแหลกยิ่งหนักหนา ไปถวายบูชาพระพุทธเจ้า (เวส) เหมือยเร่งล้นพรมพั้วกาบกระจวน (สังข์). แตก, ไหม้, ละเอียด อย่างว่า ตัดแผ่นพื้นผาล้านมุ่นกระจวน (กา) เวียงใหญ่กว้างไฟไหม้มุ่นกระจวน (กาไก) เห็นมารเหยียดคู้คำโศกถือทวน คึดเมื่อยามเฮียงสมชอบคนิงมโนแค้น คีงแข็งกร้าวตีนมือทำถีบ ผ้าแผ่นปลิ้นกระจวนล้านเลือดนอง (สังข์).
  • กระจอก
    แปลว่า : ชื่อนกตัวเล็กๆ ชนิดหนึ่ง ชอบทำรังตามหลังคาเรือน เรียก นกกระจอก ก็ว่า อย่างว่า อุมลัวฮุ้งกาในแกกะออก จอกก่างกี้เจียผ้ายกะแดบดิน (สังข์). เศษ, เหลือ สิ่งของที่เหลือใช้เล็กๆ น้อยๆ เรียก กระจอก หรือ คนที่มีฐานะต่ำเรียก คนกระจอก. เขยก (ข. ขจอก) เรียก ม้าขาเขยก ว่า ม้ากระจอก.
  • กระจอกฟ้า
    แปลว่า : ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบทำรังอยู่บนต้นไม้สูงๆ เรียก นกจอกฟ้า อย่างว่า นกแตดแต้แลแจนแวน ฮังแขวนนั้นแม่นนกกระจอกฟ้า (เวส).
  • กระจอน
    แปลว่า : ตุ้มหู เครื่องประดับหูของหญิงสาว ทำด้วยเงิน ทอง ทองคำ เรียกกระจอน มี ๒ ชนิดคือ กระจอนจูม และกระจอนยอย อย่างว่า เกล้ากอดย้องเขียงคาดเทียมเพา ตาเหลียวไหลแปกมันไซซ้อนวรรณเข้มแขบนิล (สังข์).
  • กระจ้อน
    แปลว่า : ชื่อสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง ตัวเล็ก คล้ายกระรอกหรือกระแต หน้าแหลมคล้ายหน้าจอนฟอน อย่างว่า มอมเยืองไก้หนูชิงกระแตต่าย กระเล็นฮอกจ้อนแหนอ้มห่านหอน (สังข์) แลนลิ่นจ้อนทังไก้ไก่ยูง (ฮุ่ง).
  • กระจ้อน
    แปลว่า : เล็ก, แกร็น เช่น ม้าตัวเล็กและผอม เรียก ม้ากระจ้อน ม้าบักจ้อน ก็ว่า อย่างว่า พ.ศ. สองพันห้าร้อยสี่ ผู้ใหญ่ลีขี่ม้าบักจ้อน แดดฮ้อนฮ้อนใส่แว่นตาดำ ผู้ใหญ่ลีกลัวฝนจะตกฮำถอดแว่นตาดำ ฟ้าแจ้งจ่างป่าง ฟ้าแจ้งจ่างป่าง ฟ้าแจ้งจ่างป่าง (เพลง).
  • กระจอนจูม
    แปลว่า : ตุ้มหูที่ทำเป็นดอกตูมๆ เหมือนดอกงิ้ว เรียก กระจอนจูม อย่างว่า กระจอนจูมสุบเซิดคำกวมเกล้า (ขุนทึง).