ภาษาอีสานหมวด "ก" 533 - 542 จาก 1872
-
กระแส
แปลว่า : แส้ตีม้า แส้หวายสำหรับตีม้าให้วิ่งเร็ว ต้องขอดที่ปลาย อย่างว่า เชื้อชาติม้าบ่มีหลีกทางกระแส ตีนำลมบ่เห็นฮอยเต้น (ผญา). -
กระหน่อง
แปลว่า : ขาส่วนล่างตั้งแต่เข่าลงไปเรียก กระหน่อง แบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนส้นเท้าเรียก ส้นน่อง เหนือกระหน่องตอนเอ็นพรึงเรียก เอ็นน่อง ตอนขาพับเรียก แอกน่องทบ เรียก กระหน่อง ขน่อง ขาน่อง ก็ว่า. -
กระหน่อง
แปลว่า : ชื่อผักชนิดหนึ่ง จำพวกผักกินได้ เกิดตามบึงตามหนองที่มีน้ำขังตลอดปี ลักษณะคล้ายผักแปะ เรียก ผักกระหน่องม้า. -
กระหมอง
แปลว่า : สมอง เรียกส่วนที่อยู่ภายในกระโหลกหัวว่า กระหมอง ขมอง ก็ว่า อย่างว่า แสงแผดฮ้องดังก้องฮอดกระหมอง (ขุนทึง). -
กระหม่อม
แปลว่า : จอมหัว, กะโหลกหัวเรียก กระหม่อม ขม่อม หม่อม ก็ว่า. -
กระหม่อม
แปลว่า : หมวกสำหรับสวมหัวเด็ก เรียก กระหม่อม กระโจมหัว ก็ว่า. -
กระหย่อง
แปลว่า : เครื่องสานชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ ตอนบนทึบ ตอนล่างห่างตรงกลางคอด สำหรับวางเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือยกครูเรียนมนต์ เรียนพระธรรม. -
กระหย่องกระแหย่ง
แปลว่า : อาการกระโดดโลดเต้นของสัตว์ตัวเล็กๆ ถ้าตัวใหญ่ว่า กระโหย่งกระเหย่ง. -
กระหาย
แปลว่า : อยากเป็นกำลัง เช่นอยากน้ำเป็นกำลัง เรียก กระหาย อย่างว่า บัดนี้จอมคุณแค้นฮมกระหายแสนส่วน ก็จิ่งใช้ให้ข้อยเขียวล้านล่วงนำ บัดนี้อาเล่ามาลวงไว้เบ็งสะหาวหาญต่อ เยื้อนวาดไว้คองถ้าเผ่าผัว (สังข์). -
กระออม
แปลว่า : ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ทาชัน (ขี้ชี) รูปคล้ายหม้อ แต่ไม่มีคอ ใช้เป็นหม้อสำหรับรดน้ำ เรียก กระออม.