ภาษาอีสานหมวด "ง" 111 - 120 จาก 265

  • ง่าย
    แปลว่า : สะดวก ไม่ยาก การทำที่สะดวกสบายไม่ประสบอุปสรรคอันตราย เรียก ง่าย กินสะดวกเรียก กินง่าย ทำโดยไม่รอบคอบเรียก เฮ็ดง่าย อย่างว่า บาดกินแล้วกินง่าย บาดคายแล้วคายยาก (ภาษิต) อย่าฟังความเบาอย่าเอาความง่าย (ภาษิต).
  • ง่าว
    แปลว่า : โง่เง่า ไม่ฉลาด ไม่มีไหวพริบเรียก ง่าว โง่ง่าว งั้วง่าว ก็ว่า อย่างว่า พระก็โมหังเข้าถือทวงใบ้บอด ก็เพื่อพิษแฝดไหม้เหมือนงั้วง่าวฟาง (สังข์).
  • ง้าว
    แปลว่า : ดาบ ดาบเรียก ง้าว ง้าวมีสองชนิด ชนิดปลายตัดเรียก ง้าวปลายตัด ชนิดปลายแหลมเรียก ง้าวปลายแหลม อย่างว่า ฝันว่าผู้ที่ต้นองค์เอกกุมภัณฑ์ มีฤทธีหลายเกิดมากึงกร้าว แล้วเล่าฝันเผลียงเข้ามาในผาสาท จับหอกง้าวฟันก้าวแกว่งมา (สังข์).
  • ง้าวง่า
    แปลว่า : ดาบสามง่าม ดาบที่มีเหล็กสามซี่เหมือนฉมวกเรียก ง้าวง่า ดาบนี้ใช้แทงข้าศึกในเวลารบราฆ่าฟันกัน อย่างว่า ทวนง่าง้าวเดียระดาษปะคือคำ ยนยนพลายงาแดงดุ่งเชิงกระดิงก้อง ควันพะลึกเพี้ยงไฟผางเผาโลก มารมืดกุ้มหาญห้าวหิ่งเนือง (สังข์).
  • ง่าวง่าว
    แปลว่า : เสียงร้องอย่างนั้น เช่นเสียงเสือร้องดังง่าวง่าว หรือเสียงแมวตัวใหญ่ร้องดังง่าวง่าว ม่าวม่าว ก็ว่า.
  • ง้าวแวง
    แปลว่า : ดาบเรียวแหลม ดาบที่มีลักษณะแหลมแต่ต้นถึงปลาย คล้ายใบแวงเรียก ง้าวแวง อย่างว่า เค็ง เค็งเสียงแวดวังถือง้าว (กา).
  • งำ
    แปลว่า : ปก ปิด ครอบงำ ใช้อำนาจข่มเหงเรียก ครอบงำ พระอาทิตย์ปิดบังไม่มีแสงส่องสว่างเรียก งำ พูดให้มีเล่ห์เหลี่ยมเรียกพูดมีเงื่อนงำ ปิดบังเรื่องที่พูดเรียก งำความ.
  • ง้ำ
    แปลว่า : งอมือเรียก ง้ำมือ เกวียนที่ไม่ใส่ไม้ค้ำเรียก เกวียนง้ำ อย่างว่า เกวียนบ่มีไม้ค้ำหัวซิง้ำใส่ดิน (ภาษิต).
  • งิกงิก
    แปลว่า : อาการผงกศรีษะของกิ้งก่าตัวเล้กๆ เรียก ตอดเงางิกงิก ถ้าตัวใหญ่เรียกตอดเงางึกงึก งึกงึกงักงัก ก็ว่า.
  • งิ่น
    แปลว่า : เท ริน รินน้ำออกจากเต้าหรือกาน้ำเรียก งิ่นน้ำ ยิ่น เง่น ก็ว่า.