ภาษาอีสานหมวด "ง" 91 - 100 จาก 265
-
งัว
แปลว่า : คนที่ห้า ตามพงศาวดารล้านช้างกล่าวว่า โอรสคนที่ห้าของขุนบุรมว่า งัวอิน คำว่างัวนี้เพี้ยนมาจากภาษาจีนว่า โหงว เหงา ก็ว่า. -
งั้ว
แปลว่า : นกงั่ว ชื่อนกชนิดหนึ่ ชื่อ นกงั้ว นกอีงั้ว ก็ว่า. -
งั้ว
แปลว่า : ส้มซ่า ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งลูกกลมใหญ่ มีรสส้มและหวาน ชนิดรสเปรี้ยวเรียก หมากเว่อส้ม ชนิดรสหวาน เรียก หมากเว่อหวาน เรียก หมากงั้ว หมากส้มโฮหาว หมากนาวโฮโห่ ก็ว่า. -
งั้ว
แปลว่า : มัวเมา มืดมัว การแสดงอาการมืดมัวเพราะถูกเวทมนต์หรือยาแฝด เรียก งั้ว งั้วง่าว ก็ว่า อย่างว่า เมื่อนั้นพระบาทต้านทังง่าวิศวง การใดดีช่างสูแสนท้าว พระก็โมหังเข้าถือทวงใบ้บอด ก็เพื่อพิษแฝดไหม้เหมือนงั้วง่าวฟาง (สังข์). -
งัวเงีย
แปลว่า : ง่วงงุน อาการง่วงงุนเพราะนอนไม่พอ เรียก งัวเงีย. -
งัวชัง
แปลว่า : พุงดอ ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง มีหนามเรียก ต้นงัวชัง งัวเลีย ก็ว่า. -
งัวต่าง
แปลว่า : ชื่อการเล่นอย่างหนึ่งของเด็กเลียนมาจากโคต่าง คือให้คนหนึ่งคลานลงเป็นงัว สองคนขึ้นขี่หลังเป็นต่างหย่อนหัวไปคนละทาง หงายหน้าขึ้นเอาเท้าสอดกัน คนเป็นวัวคลานไปถึงที่หมายถือว่าชนะ ถ้าไม่ถึงถือว่าแพ้ เปลี่ยนคนเล่นใหม่. -
งา
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีเมล้ดเล้กๆ ชนิดเมล้ดสีขาวเรียก งาขาว งาด่อน ก็ว่า ชนิดเมล้ดสีดำเรียก งาดำ งาเป็นพืชเศรษฐกิจทำรายได้ให้แก่ผู้ปลูก เจียวเป็นน้ำมันเรียก น้ำมันงา นำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง. -
งา
แปลว่า : อวัยวะคล้ายฟันที่งอกออกจากปากสัตว์ เช่น ช้าง เรียก งาช้าง อย่างว่า เลี้ยงช้างเถ้าขายงาได้กินค่า เลี้ยงช้างน้อยเพียรหญ้าได้ขี่ดน เลี้ยงช้างเถ้าขายงาได้กินค่า เลี้ยงช้างน้อยตายจ้อยค่าบ่มี (กลอน). -
งา
แปลว่า : งาแซง ส่วนหนึ่งของเครื่องดักสัตว์ มีงาลอบเป็นต้น ทำไว้เพื่อป้องกันปลาที่เข้าไปให้ออกมาไม่ได้ เรียก งา เช่น งาข้อง งาลอบ งาไซ.