ภาษาอีสานหมวด "ง" 81 - 90 จาก 265
-
งัง
แปลว่า : งอ นิ้วมืองอจนจับอะไรไม่ได้เรียก นิ้วมืองัง. -
งัด
แปลว่า : คัดให้เผยอ คัดให้เคลื่อน เช่น งัดตะปู งัดท่อนไม้ งัดเฮือ งัดแพ เป็นต้น. -
งัน
แปลว่า : ชื่อพันธุ์ข้าวชนิดหนึ่งให้ผลช้าเรียก เข้างัน. -
งัน
แปลว่า : ทำให้เอิกเกริก ฉลอง สมโภช การฉลองงานเรียก งัน เช่น งัยกฐิน งันอัฐะ งันกองบวช งันเฮือนดี (เรือนที่มีคนตายเรียก เฮือนดี) การแสดงมหรสพ เช่น การอ่านหนังสือผูก ร้องลำและการเล่นต่างๆ เรียก งันเฮือนดี. -
งัน
แปลว่า : ไม่เจริญเติบโต หยุดชะงัก เช่น ข้าวที่หยุดชะงักไม่เจริญเติบโตเรียก เข้างัน. -
งัน
แปลว่า : อึกทึก อึงมี่ เสียงอึกทึกเรียก เสียงงัน เสียงนัน นี่นัน ก็ว่า อย่างว่า มีทังยูงแงวงันเถื่อนแถวโถงผู้ (สังข์) ช้างตื่นเต้นเต็มแผ่นปถพี ระงมงันคือคู่ดินดาซ้าย (สังข์) ฟังยินระงมงันนอกในเสมอฟ้า (ฮุ่ง). -
งับ
แปลว่า : มีดพับ ชื่อมีดชนิดหนึ่ง เวลาไม่ต้องการใช้ก็พับไว้ เรียก มีดงับ. -
งับ
แปลว่า : ปิด พับ หับ ปิดประตู เรียก งับปักตู ปิดปากไม่พูด เรียก งับปาก พับมีด เรียก งับมีด. -
งับงับ
แปลว่า : ทำปากงับๆ. -
งัว
แปลว่า : วัว โค วัวหรือโค เรียก งัว งัวมอ ก็ว่า วัวบรรทุกสิ่งของใส่ต่างเรียก งัวต่าง วัวตัวผู้เรียก งัวเถิก งัวตัวเมียเรียก งัวแม่ งัวสำรองในเวลาเดินทางไกลเรียก งัวแพว วัวถึกเถลิงเรียก งัวโทน วัวป่าเรียก งัวบา วัวสีขาวเรียก งัวพอน.