ภาษาอีสานหมวด "ง" 61 - 70 จาก 265

  • ง้องแง้ง
    แปลว่า : ลูกน้ำ ลูกของยุงที่ไข่ลงในน้ำ เวลาแตกเป็นตัวเคลื่อนไหวไปมาได้ เรียก แมงง้องแง้ง.
  • ง้องแง้งง้องแง้ง
    แปลว่า : อาการเคลื่อนไหวไปมาของของแมงง้องแง้ง หรือของไส้เดือนตัวใหญ่ว่า ไต่โง้งเง้งโง้งเง้ง.
  • ง้องแง้งหิ้ง
    แปลว่า : สมอร่องแร่ง เขม่าไฟเกาะติดกันเป็นกลุ่ม ตามเส้นเชือกใกล้เตาไฟ เรียก ง้องแง้งหิ้ง.
  • งอด
    แปลว่า : แมลงป่อง แมลงป่องเรียก แมงงอด อย่างว่า โอมแมงงอดออดออก้นมึงงอล้องค้อง ป้องถึงถี่กระจัดกูปัดมึงหาย กูบายมึงเน่า กูเป่ามึงหายโอมสะหายะ (มนต์).
  • งอด
    แปลว่า : ชื่องูเล็ก ๆ ชนิดหนึ่ง เรียก งูงอด อย่างว่า งูงอดขบแจ่มเจ้าตายแล้วหรือว่ายัง แม่นอ (เวส-กลอน) ชาติที่ยอเงิงไง้ขอนเห็นดูหลาก คันบ่เข็บกะงอดเงี้ยวงูฮ้ายหากมี บ่อย่าแล้ว (สังข์).
  • งอน
    แปลว่า : หัวที่โป่งยื่นออกมาเรียก หัวงอน ถ้าใหญ่และยื่นออกมามาก เรียก หัวโงน อย่างว่า ไทไกลนี้หัวงอนนกใส่ บ่คือไทบ้านใกล้หัวล้านนกกระชุม (บ.).
  • ง่อน
    แปลว่า : ชะง่อนผา ก้อนหินที่ยื่นออกจากภูเขา เรียก ง่อนผา ง่อนภูง่อนเขา ก็ว่า อย่างว่า เยื้อนยากท้าวทังแฮ่งโฮยแฮง เดินอยหลวงกว่าไกลหรือใกล้ เลยเขียวขึ้นเขางอนเมือง่อน คึดแม่ป้าปุ้น ไห้ฮ่ำไฮ้ (สังข์) คอนคอนข้วมนาหลวมแสนง่อน ช้างเร่งม้าไปพร้อมพ่องสวาน (ฮุ่ง).
  • ง้อน
    แปลว่า : หางยาว ไม้งอๆ สำหรับจับในเวลาไถนา เรียก หางไถ ง้อนไถ ก็ว่า.
  • ง่อนต่อ
    แปลว่า : ส่วนของศรีษะบริเวณเหนือตีนผม ใต้ท้ายทอย เรียก ง่อนต่อ.
  • งอบ
    แปลว่า : หมวกสวมศรีษะสำหรับกันแดดกันฝน สานด้วยตอกไม้ไผ่ตาห่างๆ จอมแหลม ข้างในรองด้วยใบตองหนัง ใบตาล หรือใบลาน เย็บติดกันให้แน่น เรียก งอบ เหมือนงอบญวน.