ภาษาอีสานหมวด "ง" 51 - 60 จาก 265

  • ง้อ
    แปลว่า : ขอคืนดีด้วย ขอพึ่งพาอาศัย จะดีขนาดไหนก็ไม่ขอคืนดี ไม่ขอพึ่งพาอาศัย เรียก บ่ง้อ อย่างว่า ทุกข์กะบ่ง้อ ไฟไหม้กะบ่ง้อ (บ.) แม้นชิพงพันธุ์ผีข้าบ่ยอมยินง้อ (กลอน).
  • ง้อ
    แปลว่า : แปลก ประหลาด อัศจรรย์ อย่างว่า เหาะล่วงเต้นคนง้อทั่วแดน (กา) เตโชแข็งขอบดินแดนง้อ (บ.) เห็นโฉมศรีหลากคนควรง้อ (สังข์).
  • งอก
    แปลว่า : คด งอ คนแขนคดเรียก แขนงอก แขนเงาะ ก็ว่า.
  • งอก
    แปลว่า : แตกหน่อ ข้าวปลูกแตกหน่อเรียก เข้าปลูกงอก ออกหน่อ ก็ว่า.
  • ง็อกง็อก
    แปลว่า : อาการสั่นของคนกลัวหรือคนหนาวมาก เรียก สั่นง็อกง็อก ง็อกง็อกแง็กแง็ก ก็ว่า.
  • งอกแงก
    แปลว่า : คลอน ไม่แน่น น้ำในโอ่งคลอน เรียก น้ำไควงอกแงก.
  • งอง
    แปลว่า : รอ คอย การรอคอยเรียก งอง อย่างว่า สีไวหน้าสาวสนมโฉมสะอาด หุมฮุ่งเจ้าแพงซ้อยอยู่งอง (ฮุ่ง) ควรที่แปลงเป็นนกอยู่งองงอยถ้า (ผาแดง).
  • ง่อง
    แปลว่า : รอ คอย การรอคอยเรียก ง่อง อย่างว่า เป็นดั่งปลาเน่าค้างดินแห้งง่องฝน (กา) คึดฮอดมาลีจันทร์ลูกแก้วคือฟ้าง่องฝน (กา).
  • ง้อง
    แปลว่า : เหล็กแหลมงอ มีด้ามถือ ใช้แกว่งครูดในโคนเพื่อเกาะปลาหลด เรียก ง้องเกาะปลาหลด อีกอย่างหนึ่งเหล็กมีฟันเป็นซี่ ๆ เหมือนขวานฟ้าผ่า สำหรับใช้ขูดมะพร้าว เรียก ง้องขูดหมากพร้าว กระต่ายขูดหมากพร้าว ก็ว่า.
  • ง้อง
    แปลว่า : งอ คด วัวเขางอเรียก งัวเขาง้อง อย่างว่า พายัพก้ำอุดรหนูอยู่อีสานช้างพลายสารล้านเถื่อน เลื่อนเลื่อนงัวแม่ง้องกินหญ้าฝ่ายอีสาน (ประเพณี).