ภาษาอีสานหมวด "ง" 151 - 160 จาก 265
-
เง่า
แปลว่า : ตาย อย่างว่า พระพี่น้องเล็งราชอจินไตย เล็งข่วงสมคามงูเง่าตายเต็มด้าว วิสัยนี้ปานพรหมภายโลก ใต้แหล่งหล้าใดบ้างบ่มี เจ้าเอย (สังข์). -
เง้า
แปลว่า : ชื่อสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง จำพวกกระโดดสูง รูปร่างคล้ายกบ มีสีดำ อาศัยอยู่ตามถ้ำหรือลำธารในป่าเขาเรียก เง้า. -
เงาะ
แปลว่า : ชื่อคนป่าจำพวกหนึ่ง อยู่ในแถบแหลมมลายู ตัวดำ ผมหยิกเรียก เงาะ อย่างว่า เงาะฮูปฮ้ายยังได้กล่อมรจนา ยังได้เป็นราชา ซ่าลือทังค้าย (กลอน). -
เงาะ
แปลว่า : คนที่มีรูปร่างงอ เรียก เงาะ เช่น พระที่แขนงอ เรียก ยาท่านเงาะ ชายที่ขางอ เรียก ท้าวเงาะ หญิงที่นิ้วงอเรียก นางเงาะ. -
เงิก
แปลว่า : ยกขึ้น เงยขึ้น แหงนขึ้น อย่างว่า พอเมื่ออินทร์แลฮ้องกลองยามทัดเที่ยง เหมือยหมอกข้อนดาวช้างเงิกเงย (ฮุ่ง). -
เงิง
แปลว่า : ยก ชู คนที่ยกย่องตัวเองโบราณว่า หมาขี้มักเงิงหาง (ภาษิต). -
เงิน
แปลว่า : เงินตราที่ทำด้วยโลหะและธนบัตรที่ใช้แทนเงินได้เรียก เงิน เงินที่ทำด้วยแร่เงิน น้ำหนัก 6 ตำลึงกับ 6 สลึง มีรูปอักษรจีน 2 ตัวเรียก เงินฮาง เงินตราที่ทำด้วยทองแดง มีรูปคล้ายเรือขุด ยาวประมาณ2 นิ้ว เรียก เงินลาด. -
เงิน
แปลว่า : เงินที่ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เล็กกว่าเงินฮาง น้ำหนักประมาณ 10 สลึง เรียก เงินหลิ้ง เงินที่ทำเป็นรูปกลมเหมือนลูกตะคร้อ เรียก เงินหมากค้อ เงินพดด้วง ก็ว่า เงินที่หล่อเป็นแท่งสีขาวเรียก เงินเลียง เงินยวง ก็เรียก. -
เงินจูม
แปลว่า : เงินที่เป็นก้อนเหมือนลุกตะคร้อ เรียก เงินจูม เงินพดด้วง เงินหมากค้อ ก็ว่า. -
เงิบ
แปลว่า : ก.พลิกเอาด้านหน้าขึ้น ว.อาการที่พลิกเอาด้านหน้าขึ้น ว.ก้อนหินที่ยื่นออกมาจากภูเขา คล้ายเพิง ใช้หลบแดดหลบฝนได้ เรียก เงิบ เทิบ ก็ว่า เรือนที่มีหลังคาลาดไปทางเดียวก้เรียก เงิบ หรือ เทิบ เหมือนกัน. ซึ่งในภาคกลางมีการนำคำว่า เงิบ ไปเป็นคำแสลงที่มีความหมายว่าผิดไปจากที่คาดหวังหรือคิดไว้ไว้อย่างมาก เช่น ระวังเงิบ