ภาษาอีสานหมวด "ง" 171 - 180 จาก 265

  • เงื่อน
    แปลว่า : ปลายของเชือกเรียก เงื่อนเชือก อนึ่งถ้อยคำที่เป็นปม จะต้องคิดอ่านจึงจะเข้าใจเรียก เงื่อน เหตุเบื้องต้นที่ดลบันดาลให้เป็นไปเรียก เงื่อนเค้า.
  • เงื่อน
    แปลว่า : เศษ เดน อาหารที่กินไม่หมดเหลือเป็นเศษเป็นแดนไว้ เรียก เงื่อนกิน อย่างว่า ฟังยินเปล้าป่าวฮ้องเฮียงลูกสอนเสียง พุ้นเยอ สองค่อยพากันเก็บเงื่อนลิงเล็มป้อน ฟังยินแกงกดเค้าคณามุมฮ้องฮ่ำ เจ้าหล้าซ้อยฟังย้านสั่นสาย (สังข์).
  • เงื่อน
    แปลว่า : คล้าย เสมอ เหมือน คนมีรูปร่างงดงามคล้ายเทวดา เรียก เงื่อนแมน รูปสวยเหมือนพระพรหม เรียก เงื่อนพรหม.
  • แง
    แปลว่า : แสกหน้าเรียก หน้าแง ฟันแหลมทั้งข้างล่างและข้างบน ข้างละ 2 ซี่ เรียก แข้วหมากแง แข้วหมา ก็ว่า.
  • แงก
    แปลว่า : หัน ผิน หันหน้าไปโดยเร็วเรียก แงกหน้า อย่างว่า ภูธรเหลียวแงกคืนหาน้อง (ผาแดง).
  • แงง
    แปลว่า : ตั้งใจ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เรียก แงง อย่างว่า ตาบอดแจ้งบ่ฮู้ฮ่วมทางเดิน คันบ่แยงเงาหีนชิบอดตายเท้าเถ้า (ภาษิต).
  • แงง
    แปลว่า : ส่องกระจก การส่องกระจกดูเงาหน้าเรียก แงงแว่น อย่างว่า ลางคนหลงลืมเถ้ามัวเมาว่ายังหนุ่ม แงงแว่นหัวยุ้มยุ้มกุมเอ้ตั้งแต่โต (กาพย์ปู่).
  • แงง
    แปลว่า : เดินไม่หยุด การที่วัวควายเดินไปไม่หยุด เพื่อเสาะแสวงหากินหญ้า เรียก งัวควายแงง อย่างว่า งัวกินหย้าแงงหาแต่หญ้าอ่อน แงงเหมิดมื้อกะบ่พ้อ ทางท้องเปล่าแปน (บ.).
  • แงน
    แปลว่า : งอน ตะโพกงอนเรียก ดากแงน อย่างว่า ลางเถ้าหัวขาวแล้วแอวกะแงนดากกะแอ่น ยังเล่าแหะแห่นเหล้นหลงเต้นบ่เบิ่งโต (กาพย์ปู่).
  • แง้น
    แปลว่า : งอนไถแหงน เรียก ง้อนไถแง้น วาที่เหยียดออกเต็มที่เรียก วาแง้น ขาแหงนเรียก ขาแง้น อย่างว่า ยามเมื่อลุกย่างย้าย ยัวรยาตรลีลา แขนขาโขแค่งโงงอแง้น บ่ได้แสนแพนหน้าโสภาคือเก่า ยามเมื่อเถ้าแก่แล้วแนวนี้ซู่คน นั้นแล้ว (ย่า).