ภาษาอีสานหมวด "ง" 191 - 200 จาก 265

  • โง
    แปลว่า : วกกลับ, หวนกลับ, อ้อม, เลี้ยว, วก เดินไปแล้ววกกลับ เรียก โง เดินอ้อมเรียก โง ยกหัวเรียก โงหัว อย่างว่า เพิ่นชังโตอย่างโงชังตอบ (ภาษิต).
  • โง่
    แปลว่า : หางหงส์, ช่อฟ้า เครื่องประดับหลังคาโบส์ ปราสาทราชมณเทียร เรียก โง่ ช้อฟ้า โงะ ก็ว่า อย่างว่า โง่คนอยู่ใต้ โง่ไม่อยู่เทิง (ภาษิต).
  • โง่
    แปลว่า : เขลา, โฉด, ไม่ฉลาด คนไม่ฉลาดเรียก คนโง่ ปกติของคนโง่จะไม่อยู่ปราสาทราชมณเทียร หรืออยู่ที่ไหน ต้องอยู่ภายใต้ของคนฉลาด.
  • โงก
    แปลว่า : ชะโงก ยื่นศีรษะให้โผล่ออกมาเรียก โงกหัว.
  • โงกเงก
    แปลว่า : โยกเยก โคงหรือคลอนไปมาเรียก ไกวโงกเงก.
  • โงง
    แปลว่า : โค้ง, คด เขาวัวหรือเขาควายที่โค้งเกือบจดกัน เรียก ควายเขาโงง.
  • โง้ง
    แปลว่า : ค้อม, คด, โค้ง ทางอ้อม คดเลี้ยวไปมาเรียก ทางโง้ง ทางโง ก็ว่า อย่างว่า ทางแฮ่งโง้งเสื่อเขี้ยวแฮ่งหลาย(บ.).
  • โงงโงง
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่นเสียงตีฆ้องใหญ่ ตีติดกันจะได้ยินเสียงดังโงงโงง อย่างว่า โงงโงงฆ้องเภรีฮันป่าวพร้อมพาบขึ้นขี่ช้างผายย้องหยั่นแครง(ฮุ่ง).
  • โงน
    แปลว่า : งอน คหัวงอนมากเรียก หัวโงน.
  • โง่น
    แปลว่า : กลุ่ม, ก้อน กลุ่มเมฆหรือก้อนเมฆเรียก โง่นขี้ฟ้า อย่างว่า พระพายพานตอมโง่นงามคือช้าง (สังข์) พ่อเห็นชะยุ่ยฝ้าตั้งโง่นฝ่ายทักษิณ พ้นเยอ (ฮุ่ง).