ภาษาอีสานหมวด "จ" 341 - 350 จาก 719
-
จุย
แปลว่า : รวม สมทบกลางทางเรียก จุย. -
จุ้ย
แปลว่า : อ้วน น่ารัก เด็กที่อ้วนเรียก จุ้ย ตุ้ย ก็ว่า. -
จุล
แปลว่า : เล็ก น้อย (ป.). -
จุลกฐิน
แปลว่า : กฐินที่ทำให้เสร็จในวันเดียวเริ่มแต่ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อม และถวายเรียก จุลกฐิน กฐินแล่น ก็ว่า. -
จู
แปลว่า : ชื่อไก่ที่มีหงอนเล็ก อย่างหงอนไก่ชน เรียก ไก่จู. -
จู
แปลว่า : ชื่อหมาพันธุ์เล็ก หางเป็นพู่ยาว หูตูบ เรียก หมาจู. -
จู้
แปลว่า : นม อย่างว่า ดูดั่งเด็กแอ่วจู้เขินข้างแม่มา (สังข์) ยังบ่เห็นแม่เจ้ากินจู้แอ่วนมแลนอ (เวส) ขาก็เป็นหน่อฟ้าชายทอกทังสอง กือเมืองแพงยิ่งตาสองก้ำ มาดาน้อยหอหงษ์เป็นแม่ ตกแต่งให้นมจู้พร่ำหลาย (ฮุ่ง). -
จูง
แปลว่า : จับด้วยมือเรียก จูง อย่างว่า พอเมื่อมหาชัยได้หมอเมืองทูลคอบ พระบาทเจ้าจูงน้องสู่ลิน (สังข์) เยื้อนพรากชู้ลืมเพศหลงโฉม นายควาญแขนแนบนำจูงขึ้น เจืองก็อาฮมฮ้อนหึระทัยทนสวาท ท้าวฮุ่งยินสะอื้นสะเอินชู้ชั่วไกล (ฮุ่ง). -
จูด
แปลว่า : กระสอบ กระสอบเรียก จูด กระจูด ก็ว่า. -
จูด
แปลว่า : เผา ทำให้ไหม้ เช่น เผาป่าเรียก จูดป่า เผาบ้านเรียก จูดบ้าน เผาเรือนเรียก จูดเฮือน จุด ก็ว่า จุดไฟเรียก จูดเพลิง อย่างว่า มโนในเพี้ยงไฟฮมเอ้าอั่ง ขิ่นเอย ปุนดังสุมจูดไม้ขอนขว้างแค่ดง (สังข์).