ภาษาอีสานหมวด "จ" 361 - 370 จาก 719

  • เจงเลง
    แปลว่า : ใส จาง แกงที่มีน้ำมากมีรสจาง เรียก เจงเลง อย่างว่า ไทไกลนี้เจงเลงน้ำแจ่วข่า บ่คือใสติ้งหลิ้งไทใกล้น้ำแจ่วขิง (กลอน).
  • เจงเวง
    แปลว่า : รุ่งเรือง เลื่องลือ สิ่งที่รุ่งเรืองหรือที่คนเลื่องลือ เรียก เจงเวง.
  • เจบเพบ
    แปลว่า : อาการนอนพังพาบ เรียก เหมบเจบเพบ.
  • เจ้ย
    แปลว่า : แฉลบ นกที่บินแฉลบไปมาเรียก บินเจ้ย อย่างว่า คาดชิบ่ได้บินมาคือนกเจ่า คาดชิบ่ได้บินเจ้ยเจิดหนี (ภาษิต).
  • เจ้ย
    แปลว่า : หน้าผากที่ลาดลงหรือแหว่งไปข้างหนึ่ง เรียก หน้าผากเจ้ย อย่างว่า หน้าผากเจ้ยคือตักแตนโม ปากที่ไม่มีฟันเรียก คางเจ้ย อย่างว่า มีปากบ่มีแข้วพร้อมคางชิเจ้ยเจิดดัง (ย่า).
  • เจ้ย
    แปลว่า : เสี้ยมปลายให้แหลม เช่น จะตัดต้นไม้ถากลงไปข้างเดียว เรียก ฟันเจ้ย ฟันเจิ้ม ก็ว่า อย่างว่า เผื่อเหนือตกใต้ไหลลงมากะพอแม่น มีดอี่โต้บ่เข้าให้ฟันเจ้ยแต่ไกล (ภาษิต).
  • เจริญ
    แปลว่า : เติบโต งอกงาม ทำให้งอกงาม สิ่งที่งอกงามไปโดยไม่หยุดยั้ง เรียก เจริญ จ่ำเริญ ก็ว่า อย่างว่า เรงญาฮู้ฮมเพิงท้าวฮุ่ง หมอคาดแล้วทูลไหว้จ่ำเริญ (ฮุ่ง).
  • เจรียง
    แปลว่า : ขับลำ ขับกล่อม ร้องเพลง.
  • เจว็ด
    แปลว่า : รูปเทพารักษ์ที่ตั้งไว้ในศาลพระภูมิหรือศาลเจ้า.
  • เจา
    แปลว่า : คำเรียกลูกชายคนที่ ๙ ว่า เจา คู่กับลูกหญิงคนที่ ๙ ว่า ลูกเอา.