ภาษาอีสานหมวด "จ" 381 - 390 จาก 719
-
เจ้าหมื่นม้าว
แปลว่า : เจ้าผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์สินเรียก เจ้าหมื่นม้าว อย่างว่า บัดนี้หลานก็ยินแคลนไฮ้เงินคำแสนสิ่ง ให้ออกเจ้าหมื่นม้าวใจแจ้งช่อยคูณ (ฮุ่ง). -
เจ้าหัว
แปลว่า : พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา คนโบราณอีสานเรียก เจ้าหัว เพราะนับถือพระเหมือนนับถือเจ้า นับถือสูงกว่านับถือเจ้าอีก คือนับถือเท่ากับหัวหรือสูงกว่าหัวของตน เวลาไปพบพระสงฆ์หรือถวายสิ่งของ จะยกสิ่งของที่ถวายให้สูงกว่าหัวตน. -
เจาะ
แปลว่า : ทำให้เป็นรูเรียก เจาะ เช่น มอดเจาะไม้ ใบหน้าที่เป็นรูเพราะโรคฝีดาดเรียก หน้ามอดเจาะ. -
เจาะ
แปลว่า : ควักลูกตาเรียก เจาะตา อย่างว่า เขือจงเอาความขึ้นทูลธรรม์เทวราช จริงเถิ้น ว่าแม่เจาะหน่วยแก้วถวายไท้พระยอดเมือง ว่าเนอ (สังข์). -
เจาะเบาะ
แปลว่า : งาม สดใส คนที่มีใบหน้างามสดใส เรียก หน้าเจาะเบาะ จุบุ ชะบุ ก็ว่า อย่างว่า จุบุหน้าใสงามสุดแจ่ม บาดว่ายัวรยาตร์ย้ายใจอ้าย๙ขาดดอม (ผญา). -
เจิง
แปลว่า : เขยิน ฟันที่ยื่นยาวออกเรียก แข้วเจิง อย่างว่า ญิงใดทันตาแข้วขาวเจิงพ้นออก แม้นว่าเลี้ยงลูกเต้ามีได้ใหญ่สูง (คำสอน). -
เจิด
แปลว่า : ร่อนแฉลบ นกบินร่อนแฉลบเรียก บินเจิด อย่างว่า ฝูงหมู่ปักษีขุ้มบินลงเจ้ยเจิด มันก็จับง่าไม้ชมเล้มลูกไฮ (กา) มณีกาบยั้งเยื้อนเจิดเลยลง (หน้าผาก). -
เจิ้นเทิ้น
แปลว่า : สูงตระหง่าน ต้นไม้ที่สูงตระหง่าน เรียก สูงเจิ้นเทิ้น. -
เจิบ
แปลว่า : ตวาด ร้องให้ตกใจ ร้องให้ตกใจเรียก เจิบ เช่น เจิบช้าง เจิบม้า เจิบหมูป่า เจิบเสือ. -
เจิบเบิบ
แปลว่า : อาการนอนหงายพังพาบ เรียก นอนหงายเจิบเบิบ เจิบเหมิบ ก็ว่า.