ภาษาอีสานหมวด "จ" 371 - 380 จาก 719
-
เจา
แปลว่า : หลาน โกนคือลูก โกนเจาได้แก่ ลูกและหลาน (เขมร,ส่วย). -
เจ่า
แปลว่า : ข้าวหมัก ข้าวหมักที่ผสมกับกุ้ง เรียก กุ้งเจ่า ผสมกับปลาเรียก ปลาเจ่า ส้มปลาเจ่า ส้มปลาน้อย ก็ว่า. -
เจ่า
แปลว่า : นั่งเหงา คนที่มีลักษณะนั่งเหมือนนกเจ่าเรียก นั่งเจ่า อย่างว่า นกเจ่าดั้งเลียบล่ำคอยสา เห็นปลามาอยากกินแดดิ้น นกเต็นเต้นโตนลงกินก่อน นกเจ่าดั้งแหนหน้าเบิ่งดาย (กลอน). -
เจ้า
แปลว่า : ผู้เป็นใหญ่ ผู้เป็นหัวหน้า ผู้ปกครอง ผู้มีอำนาจที่จะดลบันดาลให้ใครเป็นอะไรก็ได้ เรียก เจ้า เจ้าในที่นี้หมายถึงเจ้า ๓ จำพวก คือ เจ้าเรือน เจ้าบ้าน เจ้าวัด. -
เจ้าจอมมิ่ง
แปลว่า : พระราชินี พระมเหสี พระอัครมเหสี มเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นผู้มีอำนาจรองจากพระเจ้าแผ่นดิน เรียก เจ้าจอมมิ่ง อย่างว่า ท่อว่าคึดต่อเจ้าจอมมิ่งนางเมือง หลานก็อาดูรเฮวฮีบเตินตูเต้า (ฮุ่ง). -
เจ้าติ่วช้าง
แปลว่า : ผู้มีอำนาจรองลงมาเรียก เจ้าติ่วช้าง อย่างว่า ทุกที่เที้ยนเซ็งซ่าบุญยวง ลือเกียรติตกต่างเชียงชมอ้าง เขาก็เชิญเถิงท้าวแองกากลอยกล่าว เจ้าติ่วช้างคนิงไว้จิ่งขาน (ฮุ่ง). -
เจ้าแผ่นหล้า
แปลว่า : พระเจ้าแผ่นดินเรียก เจ้าแผ่นหล้า อย่างว่า ทุกที่แห้มหอมเผ่าไฟฟอน กลอยแฮงฮันฮอดเชียงเซาม้า เมือเถิงไท้ภูธรนบนอบ เจ้าแผ่นหล้าควรค้ามใคร่ชม (ฮุ่ง). -
เจ้าแพงช้าง
แปลว่า : พระราชโอรสเรียก เจ้าแพงช้าง อย่างว่า เมื่อนั้นพุ่งพุ่งพร้อมเชืองถ่าวอาลัว แจนแจนจัดโสรจสรวงสีล้าง ลางคนบายเอาผ้าใยบัวเลิงแลบ มาห่มเจ้าแพงช้างลูกจอม (ฮุ่ง). -
เจ้าเมือง
แปลว่า : เจ้าผู้ปกครองเมืองเรียก เจ้าเมือง อย่างว่า งามแต่เข้าเฮ็ดนาแคมเหมือง งามแต่เมืองมีเจ้าผู้หนึ่ง (ภาษิต) เจ้าเมืองดีบ่เห็นแก่เงินแสนไถ้ เจ้าเมืองดีเห็นแก่ไพร่แสนเมือง (ภาษิต). -
เจ้าลุ่มฟ้า
แปลว่า : พระเจ้าแผ่นดินเรียก เจ้าลุ่มฟ้า อย่างว่า ภูมิพนาเงื้อมแดนขุนขวางฮาบ สินส่วยเจ้าลุ่มฟ้าพันท้าวทอดมา (สังข์) มันก็นบนาถแล้วเลยเลิกลงไป เทียวทางจัดฮีบตีนเดินม้า คราวไกลผ้ายหลายยามยินแปบ เลยฮอดเจ้าลุ่มฟ้าทันที่คำวัง (ฮุ่ง).