ภาษาอีสานหมวด "ช" 101 - 110 จาก 197
-
ชั่งแนน
แปลว่า : การทำพิธีกรรมอย่างหนึ่ง เพื่อเสี่ยงทายดูคู่ครอง ในกรณีที่ชายหรือหญิงเกิดปัญหาเกี่ยวกับคู่ครอง โบราณจะจัดทำพิธีเชิญหมอทรงมาเชิญเทวดาหรือพระยาแถนลงมาถามดู ถ้ามีขัดข้องตรงไหนหมอทรงจะช่วยแก้ไขให้ ในวรรณคดีอีสานก็มีปรากฏเช่น เรื่อง ขูลูนางอั้ว. -
ชัน
แปลว่า : ตั้งตรง เช่นภูเขาที่สูงชันเรียก เขาชัน ภูชัน ก็ว่า อย่างว่า เห็นแต่ภูเขาขั้นผาชันเป็นหลั่น เล็งไปตามช่องชั้นมองน้องบ่เห็น (บ.). -
ชัย
แปลว่า : การชนะ การมีชัย ความชนะ (ป.ส.) อย่างว่า จักว่าชัยโชครื้อฮู้ว่ากำสุด จักว่าราศีสูญเล่ายังสงวนน้อง เมื่อนั้นบาบุญเจ้าเจืองลุนต้านตอบ พลพวกพ้องทั้งค้ายอยู่ฟัง (ฮุ่ง). -
ชัยโชค
แปลว่า : ชื่อฤกษ์งามยามดี เวลาฤกษ์งามยามดีเรียก ยามชัยโชค อย่างว่า พอเมื่อวันสูรย์กล้างายงามชัยโชค ควาญเกี่ยวช้างเชิญท้าวสู่พลาย (สังข์). -
ชัยบาน
แปลว่า : เครื่องดื่มในการมีชัย (ป.) เครื่องดื่มในการมีชัย ได้แก่ สุรายาเมา. -
ช้า
แปลว่า : ซากศพ ซากศพคนตายเรียก ช้า ขอนช้า ก็ว่า อย่างว่า นางนั่งเฝ้าขอนช้าซากผัว (สังข์). -
ช้า
แปลว่า : นาน ไม่เร็ว ไม่ไว การทำโดยอาการเชื่องช้า เรียก ช้า อย่างว่า ช้าเป็นการนานเป็นคุณ (ภาษิต). -
ช้า
แปลว่า : ตื่นเต้น ดีใจ เวลาฝนตกปลาจะกระโดดโลดเต้นเพราะดีใจ เรียก ปลาเป็นช้า อย่างว่า คือคู่ปลาเป็นช้าชมฝนปีใหม่ (สังข์). -
ช้างน้าว
แปลว่า : ปลงพิษ ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ต้นช้างน้าว. -
ช้างน้ำ
แปลว่า : ชื่อสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเหมือนช้าง อาศัยอยู่ในน้ำ เรียก ช้างน้ำ.