ภาษาอีสานหมวด "ช" 121 - 130 จาก 197
-
ชาน
แปลว่า : ชานที่อยู่ในระหว่างกลางของเรือนหลังใหญ่และหลังเล็ก เรียก ชานขวาง อย่างว่า เมื่อนั้นพระแม่เจ้าเสด็จสู่ชานขวาง (เวส-กลอน). -
ชาน
แปลว่า : มุขที่ไม่มีชานเล็กที่ต่อมาจากเรือนใหญ่ เรียก ชานมน อย่างว่า กลางหนห้องชานมนเยี้ยมผ่อ (หน้าผาก) ลงสถิตซ้องซานมนดาเครื่อง วรุณราชท้าวจูงน้องสู่สถาน (สังข์). -
ช้าพลู
แปลว่า : ชะพลู. -
ชามพูนุท
แปลว่า : ทองคำเนื้อบริสุทธิ์. -
ชาย
แปลว่า : เพศผู้ คำว่า ชาย นี้ใช้เฉพาะคน ถ้าใช้กับสัตว์เรียก ตัวผู้ ใช้กับคนเรียก ชาย หรือ ผู้ชาย อย่างว่า ชายก็ให้เป็นชายแท้ อย่าแกมแกหินแฮ่ ชายกะให้ชายแท้แท้ ตมนั้นอย่าได้มี (กลอน). -
ชายชะเร
แปลว่า : ชายจรจัด ชายที่ไม่มีหลักแหล่ง ค่ำไหนนอนนั่น อย่างว่า มึงนี้แนวถ่อยฮ้ายหีนะโหดปาปัง มีใช่แนวเดียวกูต่างพงศ์พันธุ์เชื้อ เทียมดั่งโจโรฮ้ายชายชะเรชาติชั่ว สอนบ่ได้ลวนลึ้งดั่งลิง แท้แล้ว (สังข์). -
ชายา
แปลว่า : เมีย (ป.) อย่างว่า เพราะเพื่อปราศจากแก้วพลอยพรากชายา พระเอยนงจรเจียระจากกันไกลล้ำ ขอแก่มหาจักรเจ้าใจคามคนิงมาก จริงเถิ้น เชิญช่อยชี้บูฮาณน้าวหน่วงสม แด่ถ้อน (สังข์). -
ชาว
แปลว่า : พวก หมู่ ผู้อยู่อาศัยในเมืองเรียก ชาวเมือง ผู้อยู่อาศัยในโลกเรียก ชาวโลก อย่างว่า แหนแห่แก้วกัลเยศทังเจ็ด ฮมฮมชาวนครจำปาป่าวกันมาเยี้ยม นงพราวผู้ขุนคอนต้านสั่ง เอิ้นสั่งชู้สาวซ้อยสั่งเมือ (สังข์). -
ช้ำ
แปลว่า : สีแดงแก่ เรียก สีช้ำ สีช้ำเรียก สีหมากหว้าสุก อย่างว่า สีหมากหว้าชมพูหายาก สีม้อนเต้อหาได้คู่ยาม (กลอน). -
ชำฮะ
แปลว่า : ชำระ สะสาง อาบน้ำเพื่อให้ร่างกายสะอาด เรียก ชำฮะกาย ไล่ภูตผีปีศาจที่มาสิงให้ออกไป เรียก ชำฮะน้ำ สวดมนต์เพื่อปัดเป่าความเสนียดจัญไรเรียก สูตรชำฮะ ตัดสินความเรียก ชำฮะความ.