ภาษาอีสานหมวด "ช" 131 - 140 จาก 197

  • ชิ
    แปลว่า : เป็นกิริยานุเคราะห์ ใช้นำหน้ากิริยาอื่น เช่น ชิไป ชิมา ชิเว้า ชิกิน ใช้ชิ สิ ก็ว่า อย่างว่า คันชิเอาะอ่อมจ้ำอย่าได้ใส่น้ำหลาย มันชิเป็นแจงแลงบ่เป็นตาจ้ำ (กลอน).
  • ชิง
    แปลว่า : แข่ง แข่งขัน การแข่งขันเพื่อชิงดีชิงเด่น เรียก ชิง อย่างว่า โผ่โผ่เข้าเมืองใหญ่ประกันหลวง ฝูงแกวเขาลอบไปปีนต้าย เสียงนันเค้าชิงกันคับคั่ง พ่องแบกเที้ยนทังค้ายคู่คน (ฮุ่ง).
  • ชิง
    แปลว่า : แย่ง แย่งเอาเรียก ชิง ยาด ก็ว่า อย่างว่า ลุกลุกถ้อนชิงยาดเอาอวนไว้แม เฮียมบ่มีใจคึดใคร่เมือเมืองบ้าน (สังข์) ลุกลุกถ้อนเขาชิยาดเอาอวน เขาชิชวนเอาชู้หนีไปชูผู้ใหม่ (กลอน).
  • ชิม
    แปลว่า : กิน ทดลอง เรียก ชิม อย่างว่า อดเจ้าลองชิมส้มหมากนาวสีหวานเว่อ ต้นต่างต้นมันสิส้มต่างกัน (ผญา).
  • ชี
    แปลว่า : แม่น้ำชี แม่น้ำสายหนึ่งยาวประมาณ 765 กิโลเมตร เกิดจากเขาพญาผ่อในเขตเขาเพชรบูรณ์ ในจังหวัดชัยภูมิแม่น้ำนี้ไหลผ่านจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร ลงสู่แม่น้ำมูลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี.
  • ชี
    แปลว่า : นักบวชในพระพุทธศาสนาที่นุ่งเหลืองห่มเหลือง เรียก ชีสมณ์ คือสมณะที่ประพฤติปฏิบัติเพื่อสละกิเลส อย่างว่า ประดับถี่ถ้วน ครบเครื่องชีสมณ์ เขาก็นำเมือถวายที่ยำประนมน้อม มหากาตริย์เจ้าจงใจจักบวช ขุนขูดเล้มโกนเกล้าเกษพระองค์ (สังข์).
  • ชี
    แปลว่า : เหล็กชี เหล็กสำหรับเจาะไม้หรือเล็ก หรือเหล็กในสำหรับปั่นด้ายเรียก เหล็กชี อย่างว่า เหล็กในบ่มีหลาแล้วชิกลายเป็นเหล็กส่วน มีผัวบ่มีลูกเต้าเขาชิเอิ้นแม่หมัน มีครรภ์บ่มีผัวช้อนมานทางเขาชิว่า มีลูกมีย้อนชู้เขาชิเฮื้องใส่ทาง (ย่า).
  • ชี่
    แปลว่า : ยาสีฟันแบบโบราณ คนโบราณอีสานนิยมทำซี่ทาฟันให้ดำ ชี่นี้ทำด้วยไม้ยูง คือเอาบั้งไม้ไผ่มาแล้ว ผ่าไม้ยูงให้เป็นซี่ๆ จุดไฟใช้เสียมทาน้ำมันยางรน ควันที่ได้จากการรนนี้เรียกว่า ชี่ เอาชี่นี้ทาฟันเพียงครั้งเดียว เว้นแต่ฟันจะโยกคลอนจึงจะทำชี่ทาฟันอีกครั้งหนึง
  • ชื่น
    แปลว่า : เบิกบาน, ดีใจ ดีใจเรียก ชื่นใจ อย่างว่า มีคลาดแคล้วโดยดั่งพระองค์ฝัน เมื่อนั้นภูมีชมชื่นใจจาต้าน (สังข์) ชื่นใจเรียก ชื่นชม ชมชื่น ก็ว่า เบิกบาน เรียก ชื่นบาน.
  • ชื้น
    แปลว่า : เปียก, ชุ่ม, ไม่แห้ง อาการที่สิ่งของไม่แห้งเรียก ชื้น จื้น ก็ว่า อย่างว่า ตาชุ่มย้อยแยมแย่งฮิมแดง ยามเมิลเมียงหมี่ตอมฮิมจื้น (สังข์).