ภาษาอีสานหมวด "ช" 71 - 80 จาก 197
-
ชะเนง
แปลว่า : เครื่องดนตรีประเภทดีดชนิดหนึ่ง อย่างว่า เหนือหัวได้ชะเนงเตาะขาด อามาตย์พร้อมฝูงเหง้าลวาดตาม (ฮุ่ง). -
ชะเนาะ
แปลว่า : ตอกไผ่ที่จักเป็นเส้นแล้วบิดเข้ากัน เรียก ตอกชะเนาะ ใช้สำหรับมัดเครื่องเรือนสมัยโบราณ. -
ชะไน
แปลว่า : ปี่เขาควายที่เจาะปลายเขา ใช้ลิ้นแคนเป็นเสียง พวกควาญช้างใช้เป่าเวลาไปคล้องช้างและเป่าในเวลากลับจากคล้องช้าง อย่างว่า ว่อนว่อนก้องควาญเป่าชะไนเนือง เซ็นเซ็นเสียงชะนีฮ่ายฮาวปีนถ้ำ ชะลอนช้างพังพลายย้ายย่าง มยุรราชซ้ำเสียงห้าวเฮ่งวอน (ฮุ่ง). -
ชะบอง
แปลว่า : สวย งาม อย่างว่า เมี้ยนอย่าเข้าทุกที่เทลง โฉมพราวเนาแท่นทองลายต้อง ชะบองเนื้อขาวพองอั้วค่า เมี้ยนสั่งถ้อยแถมพร้อมตื่มกลอน (ฮุ่ง). -
ชะบอง
แปลว่า : นางงาม อย่างว่า ชะบองหน้าแองกาหุมมาก ฝูงเผ่าชั้นชมพร้อมชื่นงัน (ฮุ่ง). -
ชะบัดชัย
แปลว่า : ชื่อกลองขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งเรียก กลองสะบัดชัย มีฆ้องสะบัดชัย เป็นคู่กัน โดยเฉพาะกลองสะบัดชัยนี้ใช้เวลาออกรบทัพจับศึก หรือเวลาแห่เจ้าเมือง. -
ชะบุ
แปลว่า : สวย งาม ลักษณะที่สวยงามเรียก ชะบุ จุบุ ก็ว่า อย่างว่า ต่างต่างเนื้อเอื้อยมุ่งอามกาน ชะบุคีงงามแข่งเขียนขาวแจ้ง (ฮุ่ง) เจ้าผู้จุบุหน้าจันทร์เพ็งสุดแจ่ม บาดว่ายัวรยาตรย้ายใจอ้ายชิขาดดอม (กลอน). -
ชะพั่ง
แปลว่า : พรั่งพร้อม อย่างว่า ชะพั่งล้นโฮงกว้างชื่นงัน (ฮุ่ง). -
ชะพาก
แปลว่า : สะพรั่ง อย่างว่า ฝูงครัวย้ายชามลายเลียนแจก ชะพากพร้อมฝูงเหง้าแต่งตอม (ฮุ่ง). -
ชะพาบ
แปลว่า : พร้อมพรั่ง อย่างว่า ชะพาบพร้อมนบนาถชุลีกร เฮาจักคลาเชียงทองสั่งสูวันนี้ บุญมีขึ้นแทนเมืองท้าวกว่า บ่ฮู้กี่ส่ำช้างงาค้อมอยู่ถุน (ฮุ่ง).