ภาษาอีสานหมวด "ช" 51 - 60 จาก 197

  • ชะคาม
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ป่าชนิดหนึ่ง เรียก ต้นชะคาม ต้นเล็กเป็นพุ่ม กิ่งก้านและใบพองกลมเป็นฝอยปลายแหลม สีเขียว เขียวอมม่วง ชมพู.
  • ชะแควก
    แปลว่า : สวย งาม อย่างว่า ชะแควกเนื้ออั้วค่าประนมถวาย โฉมเฉลาชวนแม่เมืองธรรมเหง้า (ฮุ่ง).
  • ชะงอก
    แปลว่า : หินที่งอกออกไป เรียก ชะงอก งอก ก็ว่า.
  • ชะง่อน
    แปลว่า : หินที่เป็นปุ่มเป็นแง่ยื่นออกมาจากภูเขา เรียก ชะง่อน ง่อน โง่น ก็ว่า.
  • ชะงาบ
    แปลว่า : อ้าปากงาบๆ เหมือนคนกำลังจะตาย เรียกว่า หันใจชะงาบ ชาบงาบ งาบงาบ ก็ว่า.
  • ชะง้ำ
    แปลว่า : คว่ำลง เช่น คนคว่ำหน้าลง เรียก งุมหน้า ชะง้ำ ซ้ำง้ำ ก็ว่า.
  • ชะงุ้ม
    แปลว่า : ก้มลง เช่น คนก้มหน้าลง เรียก ก้มชะงุ้ม ชุ้มงุ้ม งุ้ม ก็ว่า.
  • ชะเง้อ
    แปลว่า : ชูคอขึ้น เช่น คนแหงนหน้าขึ้น เรียก แหนชะเง้อ เช้อเง้อ เท้อเล้อ ก็ว่า
  • ชะเงื้อม
    แปลว่า : ยื่นออกจากที่สูง เช่น ก้อนหินที่ยื่นออกจากภูเขา เรียก ชะเงื้อมเขา เงื้อมเขา เทื้อมเขา ก็ว่า.
  • ชะแง้
    แปลว่า : เหลียวแลดู เช่น คนแหงนหน้าขึ้นดู เรียก แหนชะแง้ แหนแช้แง้ แหนแท้แล้ ก็ว่า.