ภาษาอีสานหมวด "ท" 11 - 20 จาก 449
-
เทิน
แปลว่า : การวางซ้อนกันเป็นชั้น เทิบ ก็เรียก -
ท
แปลว่า : เป็นพยัญชนะพวกอักษรต่ำ ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด ในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต. -
ท
แปลว่า : ใช้ประสมกับตัวอักษร ร. อ่านเป็นเสียง ซ ในบางคำ เช่น ทราม แทรก ทรง และในคำบางคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเช่น อินทรีย์ คำว่า ทรง นี้โบราณใช้ทั้ง ทรง และ ธรง อ่านออกเสียงว่า ธะรง. -
ทก
แปลว่า : กระตก กระตุกเชือกเรียก ทกเชือก กระตุกมือเรียก ทกมือ กระตุกขาเรียก ทกขา. -
ท่ง
แปลว่า : ทุ่ง ที่ราบโล่ง เรียก ท่ง ที่ราบกว้างใช้ทำนา เรียก ท่งนา ใช้ทำไร่เรียก ท่งไฮ่ กว้างจนสุดลูกหูลูกตาก็เรียก ท่ง เช่น ท่งหมาหิว ท่งกุลาฮ้องไห้. -
ทชี
แปลว่า : นักบวช นักบวชผู้บำเพ็ญเพียร เรียก ทชี ตาชี ชี ก็ว่า อย่างว่า แล้วถ่ายผ้าขอโทษทานผัว สมาทานศีลบวชชีเพียรสร้าง อันว่าลองเสงียมน้อยบังอรองค์ลูกก็ดี ผูกเกษเกล้าชฎาแล้วว่าชี แท้แล้ว (เวส-กลอน). -
ทด
แปลว่า : คันกั้นน้ำเพื่อทำการเพาะปลูกพืชผล เรียก ทด. -
ทด
แปลว่า : ช่วยเหลือกัน เช่น เขาให้เราเราตอบแทนเขา เรียก ทดช่วยกัน. -
ทดทด
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น สัตว์ร้องพร้อมกัน เรียก ฮ้องทดทด คนร้องไห้พร้อมกัน เรียก ไห้ทดทด ฟ้าร้องเสียงดัง เรียก ฮ้องทดทด อย่างว่า ทดทดฮ้องคือฟ้าล่วงบน (กา). -
ทดโทง
แปลว่า : ปลากระทุงเหว ชื่อปลาชนิดหนึ่ง ตัวกลม เล็กยาว ปากแหลม เรียก ปลาทดโทง โทดโทง ก็ว่า.