ภาษาอีสานหมวด "ท" 31 - 40 จาก 449
-
ทมิฬ
แปลว่า : ชนดุร้ายจำพวกหนึ่ง อยู่ในอินเดียแถบใต้ เรียก ทมิฬ. -
ทเมิน
แปลว่า : พวก ทหาร เหล่า พรานป่า (ข.). -
ทแยง
แปลว่า : เฉียงไป เฉไป ทแยงแผลงมาจากคำว่า แทง. -
ทร
แปลว่า : เป็นคำอุปสรรค นำหน้าคำมีความหมายว่า ชั่ว ยาก ลำบาก เช่น ทรชน คนชั่ว ทรพี คนทำร้ายต่อผู้ให้กำเนิด ทรยศ คิดร้ายต่อผู้มีพระคุณ. -
ทรง
แปลว่า : มีครรภ์เรียก ทรงคัพ อย่างว่า นางก็ทรงคัพได้หลายเดือนจวนประสูติ ก็บ่มีเหตุฮ้อนการฮ้ายเหยื่องใด (กลอน) มีธรรม เรียก ทรงธรรม อย่างว่า เมื่อนั้นปรางคำคลุ้มทรงธรรมคนิงมาก เห็นฮุ่งยามยอดแก้วเทียวใช้ชาติพระองค์ (สังข์). -
ทรง
แปลว่า : กิริยา ท่าทาง การแสดงท่าทางว่าเป็นคนใหญ่โต มีหลักฐานมั่นคง เรียก กดทรง กดวาท อย่างว่า เหลียวเบิ่งทรงสีหน้า พอปานเทวดามาแต่ฟ้าหย่อนหย่อน ตั้งที่แท้ฮูขี้กะบ่มี (กลอน). -
ทรมาน
แปลว่า : ข่ม ปราบ ฝึก ทำให้ลำบาก ทำให้เสื่อม ทัวระมาน ก็ว่า (ป.ส.). -
ทรวง
แปลว่า : อก หน้าอกเรียก ทรวง ทวง ทวงอก ก็ว่า อย่างว่า สาวถ่าวล้วนลดม่านบังเสีย นางก็ยินอาวรณ์ลวดกระสันแดดิ้น แอวกลมอุ้มเอาคอชิดนั่ง เบื้องไป่หลิ้นทวงปลิ้นต่อกัน (ฮุ่ง). -
ทรวง
แปลว่า : ใจ หัวใจ ใจเรียก ทรวง ทวง ก็ว่า อย่างว่า ภูมีมายทวงทุกข์กล่าวเขาขุนข้า (สังข์). -
ทรัพย์
แปลว่า : ข้าวของเงินทองที่มีค่าเรียก ทรัพย์.