ภาษาอีสานหมวด "ท" 311 - 320 จาก 449
-
ไท่
แปลว่า : ไถ้ ไท่โบราณมี 2 ชนิด คือ ไท่เงินและไท่เข้าสาร ไท่เงินเย็บด้วยผ้าไม่กว้างแต่ยาว สำหรับใส่เงินเหรียญ เงินฮาง เงินลาด เงินหมากค้อ เวลาไปค้าขายจะใส่ถุงคาดเอว ส่วนไท่ข้าวสารสำหรับใส่เข้าสารเวลาไปค้าขายทางไกล ใช้หาบหรือคอนไป. -
ไท้
แปลว่า : ผู้เป็นใหญ่ ผู้เป็นหัวหน้า อย่างว่า เสด็จล่วงขึ้นเถิงไท้ขาบทูล (กา) ดอกหนึ่งฟ้าสนั่นก้องเวหา ดอกหนึ่งสถานกงญายอดไท้ ดอกหนึ่งซอมแซมหยาหลายกาบ ดวงดาดดวงละไล้ลูบไล้ลืมวาง (ฮุ่ง). -
ไทยทาน
แปลว่า : ของควรให้ ของควรถวายพระสงฆ์ได้แก่ปัจจัย 4 มีผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย ยาแก้ไข เรียก ไทยทาน ไทยธรรม ก็ว่า. -
ไทระเม็ง
แปลว่า : ตัวละคร ตัวละครเรียก ไทระเม็ง อย่างว่า ไทระเม็งเหล้นตามทางเต้นไต่ ใผจักเหงาหง่วมเศร้าสูญบ้างบ่มี (สังข์). -
ทั่วทีปทั่วแดน
แปลว่า : ทั่วพื้นที่ ครบทุกพื้นที่ ทั่วทวีป ทั่วทุกดินแดนก็ว่าได้ -
ทางกง
แปลว่า : ทางตรง -
ท่าใหญ่
แปลว่า : หยิ่ง -
ทั่วะเห่อ
แปลว่า : เถอะน่า , เถอะนะ (โคราช) -
แทะแทะ
แปลว่า : จริง ๆ นะ (โคราช) -
เทือ
แปลว่า : ครั้ง, คราว, หน, ที