ภาษาอีสานหมวด "ท" 331 - 340 จาก 449

  • ทูปเกวียน
    แปลว่า : ชื่อไม้เครื่องประกอบเครื่องเกวียน ไม้แม่แคร่ทั้งคู่ของเกวียน บางทีเรียกว่า แม่แคร่เกวียน มีลักษณะที่ยื่นยาวออกไปด้านหน้าเกวียน ทำหน้าที่เป็นฐานรองรับตัวเกวียนทั้งหมด และตั้งรับแอกที่ใช้เทียมวัวหรือควาย ในภาคอีสานเรียกว่า ทวก ภาษาเขมรเรียกว่า ตูก (เขียนว่า ทูก)
  • ทวย
    แปลว่า : ทาย, ถาม
  • ทัดทา
    แปลว่า : คราดไม้หรือคราดเหล็กสำหรับเกลี่ยดิน เกลี่ยขยะมูลฝอย เรียก ทาดทา ทัดทา คราดทา ตะทา ก็ว่า
  • เทิ้ม
    แปลว่า : บริเวณที่มีป่าปลอดลม เรียก เทิม เทิ้ม เทื้อม ก็ว่า.
  • เทื้อม
    แปลว่า : บริเวณที่มีป่าปลอดลม เรียก เทิม เทิ้ม เทื้อม ก็ว่า.
  • โทบพลู
    แปลว่า : กาบกล้วยหรือกาบหมากที่หักทบตรงกลาง สำหรับใส่พลูไม่ให้เหี่ยว ยาสูบไม่ให้แห้ง เรียก โทบพลู โทบยา โกบ ก็ว่า.
  • โทบยา
    แปลว่า : กาบกล้วยหรือกาบหมากที่หักทบตรงกลาง สำหรับใส่พลูไม่ให้เหี่ยว ยาสูบไม่ให้แห้ง เรียก โทบพลู โทบยา โกบ ก็ว่า.
  • ทั่ง
    แปลว่า : กระทุ้ง กระแทก
  • ทั่งเยาะ
    แปลว่า : จิ้มเบาๆ,จิ้มแบบเหยาะๆ
  • ท้องแวบ
    แปลว่า : ท้องยุบ