ภาษาอีสานหมวด "ป" 31 - 40 จาก 753

  • ปบ
    แปลว่า : เร่ง ด่วน วิ่ง ทันทีทันใด อย่างว่า เขาก็ปบฟั่งฟ้าวมาต้อนลัดทาง (กา).
  • ป่ม
    แปลว่า : จิ้งโกร่ง ชื่อแมลงชนิดหนึ่ง สีน้ำตาลคล้ายจิ้งหรีด แต่โตกว่า เรียก แมงจิป่ม จินายป่ม ก็ว่า.
  • ประดง (โรค)
    แปลว่า : ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด เกิดตามผิวหนัง มีอาการคัน.
  • ประดง
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้จำพวกหนึ่ง
  • ปลาแดก
    แปลว่า : ปลาร้า ปลาร้าที่ทำตามวิธีจะเป็นปลาเล็ก ปลาใหญ่ เป็นอาหารหลักของชาวอีสาน ถ้าทำอาหารขาดปลาแดกอย่างเดียวรสจะไม่อร่อย การทำปลาแดกเป็นการถนอมอาหารที่เก็บไว้กินได้นานเป็นปี ถ้าเอาสัตว์ชนิดอื่นมาทำจะไม่เรียกปลาแดก แต่เรียกว่า น้ำเค็มเช่น น้ำเค็มกบ
  • ปลาแดกต้วง
    แปลว่า : ปลาร้าที่มีรสหอมหื่น เรียก ปลาแดกต้วง ใช้ตำหมากหุ่ง ถ้าตำหมากหุ่งขาดปลาแดกต้วง รสจะแซบแต่ไม่นัว ขาดรสนัวอย่างเดียวความแซบชิเหมิดไปเคิ่งหนึ่ง อย่างว่า อย่าลืมซุบหมากมี้ของดีตั้งแต่ปู่ อย่าลืมปลาแดกต้วงตำส้มหมากหุ่งเฮา (เสียว).
  • ปลาน้อย
    แปลว่า : ชื่อปลาส้มชนิดหนึ่ง ทำด้วยปลาตัวเล็กๆ ถ้าทำให้ถูกวิธีจะมีรสอร่อยแซบนัวหลาย ถ้าไม่ถูกวิธีส้มจะเน่าจะกลายเป็นส้มโอ่ไป การทำส้มปลาน้อยเป็นการถนอมอาหารที่ดีชนิดหนึ่ง.
  • ป่วง
    แปลว่า : เสียสติ อย่างว่า คึดลูกเจ้าติ่วสร้อยเป็นบ้าป่วงวิน (กา) พ่องฟั่งฟ้าวเชิญแม่เมืองหลวง ขวัญหากปันเป็งจาลจ่องเนาแนนน้อง แดนแต่ฮามนงหน้าหายสีฉันป่วย ว่าไข้คีงบ่ฮ้อนกระบวนกลั้นป่วงเสนท์ นั้นแล้ว (สังข์).
  • ป้องหง้อง
    แปลว่า : อาการล้มพับเรียก ล้มป้องหง้อง ถ้าของใหญ่เรียก ล้มป้างหง้าง.
  • ป่อน
    แปลว่า : ยื่นอาหารเข้าปาก เรียก ป่อนเข้าปาก คนที่เทวดาส่งลงมาเกิด เรียก ป่อน อย่างว่า ผิหากขอดแต่ฟ้าแนนน้าวป่อนลง (กา) คือคู่อินทร์หล่อแล้วพรหมปั้นป่อนลง (หน้าผาก).