ภาษาอีสานหมวด "ผ" 291 - 300 จาก 422

  • เผต
    แปลว่า : เปรต, ผีเปรต สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่างสูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหย็อกหย็อย คอยาว ผอมโซ มีปากเท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้องเสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน (ส.; ป. เปต). 
  • ผ้าเช็ดตีน
    แปลว่า : พรมเช็ดเท้า, ผ้าเช็ดเท้า
  • ผีเผต
    แปลว่า : เปรต, ผีเปรต น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่างสูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหย็อกหย็อย คอยาว ผอมโซ มีปากเท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้องเสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน (ส.; ป. เปต). 
  • ผักแป้น
    แปลว่า : ผักกุยช่าย ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium tuberosum Roxb. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอมหรือกระเทียม ใบแบน กลิ่นฉุน กินได้ นำเข้ามาปลูกเพื่อเป็นอาหาร, พายัพเรียก หอมแป้น. (จ.)
  • ผักขิก
    แปลว่า : ผักสลิด (ผักขจร) ชื่อไม้เถาชนิด Telosma minor Craib Regan ในวงศ์ Belontiidae ใบมนป้อม ผลเรียวยาว ดอกสีเขียวอมเหลือง กลิ่นหอม กินได้, ขจร ก็เรียก.
  • ผ้าด้าม
    แปลว่า : ผ้าขาวม้าที่ผูกติดเอวไว้ตลอดเวลาเดินทางออกจากบ้าน คนอีสานสมัยก่อนจะมีผ้าขะม้า (ผ้าขาวม้า) มัดหัวหรือเอวไว้เวลาเดินทางออกนอกบ้าน ไม่ว่าจะไปทุ่งนา ไปทำงาน หรือไปที่ไหนก็ตาม จะมีผ้าขาวม้าหรือผ้าด้ามนี้ติดตัวไว้เสมอ
  • ผู้จ่ายโถ่
    แปลว่า : การเป็นหนี้กันในวงการพนันเรียก โถ่ ผู้จ่ายเงินให้ยืมเล่นการพนันเรียก ผู้จ่ายโถ่
  • ผู้ติดโถ่
    แปลว่า : การเป็นหนี้กันในวงการพนันเรียก โถ่ ผู้ยืมเงินเขาไปเล่น เรียก ผู้ติดโถ่
  • ผูกทบมวย
    แปลว่า : การผูกเชือกชนิดหนึ่งโดยทบเงื่อนไว้สำหรับกระตุกให้แก้ออกได้โดยง่าย
  • ผักเทียม
    แปลว่า : กระเทียม