ภาษาอีสานหมวด "พ" 371 - 380 จาก 663
-
เพลา
แปลว่า : ตัก ขา อย่างว่า พระก็ฮักลูกน้อยเอาอุ้มแนบเพลา (กาไก) ซว่าซว่าฮ้องคับคั่งโฮมขวัญ เขาก็โจมจอมศรีใส่เพลาเพียรป้อน ฟังยินเค็งเค็งฟ้าเทิงหัวฮ้องฮ่ำ พุ้นเยอ แซวอั่นผ้ายผันชู้ฮุ่งจวน (ฮุ่ง). -
เพลีย
แปลว่า : อ่อนแรง ถอยกำลัง ล้า. -
เพลี้ย
แปลว่า : ชื่อแมลงพวกหนึ่งที่กินต้นข้าวและกินต้นไม้ มีสีต่างๆ เป็นตัวบ้าง เป็นไข่ติดอยู่ตามใบพืชบ้าง. -
เพส
แปลว่า : ยี่สิบ เช่น เบญจเพส คือ ยี่สิบห้า. -
เพาะ
แปลว่า : เครื่องสานชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตะกร้า แต่ไม่มีรวง ใช้เชือกแทนรวง ใช้สำหรับชั่งตวงข้าวเปลือกเวลาไปแลกข้าวเปลือก. -
เพิก
แปลว่า : เบิก ขับไล่ ขับไล่ผีเรียก เพิกผี เบิกออกจากบ้านเมืองเรียก เพิก. -
เพีย
แปลว่า : ตำแหน่งขุนนางของล้านนาและล้านช้าง เรียก เพีย คือ พญา เพียกว้านตำแหน่งช้าราชการหัวเมืองสมัยโบราณของชาวล้านช้างและล้านนา. -
เพียง
แปลว่า : เท่า แค่ เสมอ พอ เหมือน อย่างว่า สะพ่มพร้อมอามาตย์ประดับดี ปูราชสิงหาส์นลวดเพียงพรมล้วน ยนยนช้างเชียงทองคับคั่ง ม้ามากเท้าเกยกว้างจอดจน (สังข์). -
เพี้ยง
แปลว่า : เท่า เสมอ เหมือน คือ อย่างว่า เทื่อนี้การพี่เพี้ยงเทียมท่อธรณี ยาว่าเฮียมพาโลเลสสหาวหาน้อง ดวงคมเพี้ยงพระกูแยงยังแว่น จิตพี่เฮฮ่วนดิ้นกระหายข้อนขาดขวัญ (สังข์) รัศมีเพี้ยงพรมเขียนโฉมฮาบ งามเลิศแล้วลือล้ำโลกคน (ฮุ่ง). -
เพี้ยฟาน
แปลว่า : ดีหมี ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง มีรสขม ใบคล้ายใบมะไฟ เรียก ต้นเพี้ยฟาน.