ภาษาอีสานหมวด "ม" 431 - 440 จาก 860

  • โม
    แปลว่า : ใหญ่ โต เรียกจมูกที่โตว่า ดังโม ตักแตนตัวใหญ่ เรียก ตักแตนโม คนใหญ่เรียก คนโม.
  • โม้
    แปลว่า : เขียดชนิดหนึ่ง ตัวเล็กสีเหลืองปนขาว เรียก เขียดโม้ เขียดอี่โม้ ก็ว่า อย่างว่า เด็กดั่งโม้มาต้านอวดสะหาว (สังข์).
  • โม้
    แปลว่า : คุดทะราดเรียก โม้ หน่อโม้ ขี้โม้ ก็ว่า.
  • โมกโก้ก
    แปลว่า : สิ่งของที่ใหญ่โผล่ออกมา.
  • โมกโลก
    แปลว่า : หม่นหมอง ไม่ผ่องใส.
  • โมง
    แปลว่า : ชะมวง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งใบและผลคล้ายมังคุด เวลาสุกสีเหลือง รสเปรี้ยว เรียก หมากโมง.
  • โม้งก้ง
    แปลว่า : ลักษณะของลูกตาที่โต เวลาลืมตาเต็มที่ เรียก มืนโม้งก้ง.
  • โม่งโม่ง
    แปลว่า : เสียงตีฆ้องขนาดกลาง ดังโม่งโม่ง.
  • โม่ม
    แปลว่า : กลืนกินโดยไม่เคี้ยวให้แหลกเสียก่อน เรียก โม่ม อย่างว่า กูจักกินไตตับโม่มมันตางเหมี้ยง (สังข์).
  • โมลีโลก
    แปลว่า : ผู้เป็นจอมแห่งโลกคือพระพุทธเจ้า.