ภาษาอีสานหมวด "ศ" 21 - 30 จาก 91

  • เศลษ
    แปลว่า : ยางเหนียวที่ติดอยู่ในลำคอ เรียก เสลด เสด ก็ว่า อย่างว่า คืนนั้นหลับผอกพ้นจนหล่าหลงจิต ลายเลือยเห็งเสดฟองฟูมย้อย นางคราญค้นหลายทีเยื้อนยาก ยักษ์ใหญ่สะดุ้งหลงเนื้อสั่นสาย (สังข์).
  • เศิ็ก
    แปลว่า : ศึก การรบราฆ่าฟันกัน เรียก เศิ็ก อย่างว่า เมื่อนั้นนางกว่าผู้ผ่านพื้นทนุสราชลือเกียรติ์ ปุนความยินภูธรเพิ่มไปปีฮ้าย นี้ก่อน กลัวเกรงต้องโพยเศียรเศิ็กใหญ่ ดั่งนั้น รือจักหว้ายเถื่อนไม้ทันท้าวที่พล พุ้นซาม (ฮุ่ง).
  • โศก
    แปลว่า : ความทุกข์ ความเศร้า ความเดือดร้อนใจ (ป. โสก).
  • โศกนาฏกรรม
    แปลว่า : เรื่องราวจะเป็นลิเก ละครหรือการละเล่นใดๆ ลงท้ายต้องประสบกับความเศร้าสลดใจ เรียก โศกนาฏกรรม.
  • โศกา
    แปลว่า : ร้องไห้ เศร้าโศก โศกี ก็ว่า อย่างว่า บัดนี้จักกล่าวเถิงภูชัยท้าวกุศราชพระยาหลวง ก่อนแล้ว คนิงตนแดคั่งทวงเทม้าง โสกีแค้นเคืองพระทัยหมองหม่น ก็บ่เหยเหือดน้ำตาย้อยย่าวไหล (สังข์).
  • ไศล
    แปลว่า : เขาหิน ไศละ ก็ว่า คำว่าสะไหลเป็นอำเภอราษีไศล ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ.
  • ไศวะ
    แปลว่า : ชื่อนิกายหนึ่งของศาสนาฮินดู นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด (ส.).
  • ศ๊ะจรรย์
    แปลว่า : แปลกใจ,น่าฉงน (โคราช)
  • ศก
    แปลว่า : ยุคหนึ่ง ปีหนึ่ง
  • ศกรัตนโกสินทร์
    แปลว่า : พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๒ โดยถือเอาปีสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชตั้งกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงเป็น ร.ส. ๑ ตรงกับวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ และถือเป็นวันจักรี