ภาษาอีสานหมวด "ห" 311 - 320 จาก 1363
-
หม้ำ
แปลว่า : อาหารจำพวกปลาหรือเนื้อ สับให้ละเอียด ปรุงด้วยเครื่องปรุง มีพริก ขิง ข่า กระเทียม ข้าวคั่ว ใส่ในไหหรือกระปุกไว้ เวลาเป็นแล้วตักออกมากิน. -
หมิ้ง
แปลว่า : ก้อนอิฐหรือก้อนหินทิ้งลงไปในน้ำจมดิ่งลงไปไม่ฟู เรียก จมหมิ้ง ปิ้ง ก็ว่า อย่างว่า สัจจะผู้ชายนี้คือหีนหนักหมื่น ถิ้มใส่น้ำจมปิ้งบ่ตีง (ผญา). -
หมิดหมี
แปลว่า : ดำสนิด เรียก ดำหมิดหมี อย่างว่า ดำหมิดหมีแฮ่งตีแฮ่งกัด (ปัญหา). -
หมิดแหมด
แปลว่า : ปรอยๆ ฝนตกปรอยๆ เรียก ฝนตกหมิดแหมด. -
หมิดแหมว
แปลว่า : แผ่วเบา เสียงที่เปล่งออกมาแผ่วเบา เรียก เสียงหมิดแหมว. -
หมิ้น
แปลว่า : ปลิด สอย สอยผลไม้ด้วยไม้สำหรับสอย เรียก หมิ้น เช่น หมิ้นหมากมี้ หมิ้นหมากม่วง แหม้น ก็ว่า อย่างว่า ไม้หมิ้นบ่ท่อมือเถิง (ภาษิต). -
หมิบ
แปลว่า : เม้ม เม้มปาก เรียก หมิบปาก งับปาก ก็ว่า. -
หมี
แปลว่า : ชื่อสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง มีขนหนายาว ขึ้นต้นไม้ได้ มีหลายชนิด เช่น หมีควาย หมีหมา อย่างว่า หมีเหมือยฮ้องปุงปังเป็ดป่อง เค้าเคี่ยนหว้ายเวียนค้อยคอบคอน (สังข์). -
หมี่
แปลว่า : แมลงหวี่ ชื่อแมลงตัวเล็กๆ ชนิดหนึ่ง เวลาเป็นโรคตาแดงมันจะบินมาตอมตา เรียก แมงหวี่ อย่างว่า ตาชุ่มย้อยแยมแย่งฮิมแดง ยามเมิลเมียงหมี่ตอมฮิมจื้น (สังข์). -
หมึง
แปลว่า : ทำกิริยาอาการขึงขัง ทำท่าทางดุ เรียก หมึง.