ภาษาอีสานหมวด "ห" 581 - 590 จาก 1363
-
ห่าน
แปลว่า : สัตว์จำพวกนกชนิดหนึ่ง คล้ายเป็ดแต่ใหญ่กว่า เสียงดัง คนชอบเลี้ยงไว้ตามบ้าน อีกจำพวกหนึ่งเกิดในป่า ตัวใหญ่เท่าห่าน เรียก ห่านฟ้า อย่างว่า มีทังนกกกแลนกแกง ชุมแซงแลคอก่าน ห่านฟ้าและอินทรี (เวส). -
ห้าน
แปลว่า : เขยก คนขาเขยก เรียก คนขาห้าน อย่างว่า มีหมาขาห้าน มีแมวขาเด่ มีหมูปากเว้ มีม้าปากเหวอ (ย่า) หมั่นเทื่อเดียวหลังห้าน คร้านเทื่อเดียวหลังหัก (ภาษิต). -
หาบ
แปลว่า : ชื่อมาตราชั่งน้ำหนักแบบโบราณ ๕๐ ชั่งเป็น ๑ หาบ มาตราชั่งน้ำหนักปัจจุบัน ๖๐ กิโลกรัมเป็น ๑ หาบ. -
หาบ
แปลว่า : เอาของห้อยปลายคาน ๒ ข้างแล้วแบกกลางคาน เรียก หาบ อย่างว่า หาบช้างชาแมว (ภาษิต) หาบฝุ่นใส่นาขุน (ภาษิต) หาบดีกว่าคอน นอนดีกว่านั่ง (ภาษิต). -
หาม
แปลว่า : ชื่อแมลงชนิดหนึ่ง ลำตัวและขายาว สีน้ำตาลคล้ายกิ่งไม้แห้ง เรียก แมงหามผี แมงหามโลง ก็ว่า. -
หาม
แปลว่า : เอาของไว้กลางแล้วพากันหามไป เรียก หาม เช่น หามคนตายไปเผาหรือฝัง อย่างว่า หามผีตกป่าช้าบ่ฝังกะเผา (ภาษิต). -
ห้าม
แปลว่า : เรียกหญิงที่เป็นเมียเจ้านายว่า นางห้าม ถ้ามีศักดิ์เป็นหม่อมเรียก หม่อมห้าม ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่งอยู่ในอิริยาบถยืน มือซ้ายห้อยลงข้างกาย มือขวาแบตั้งขึ้นเสมออก เป็นอาการห้ามเรียก พระปางห้ามญาติ ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่งมือทั้งสองตั้งขึ้นเสมออก เป็นอาการห้าม เรียก พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร. -
ห้าม
แปลว่า : ห้ามไม่ให้ทำ เช่น ยับยั้งศึกเรียก ห้ามทัพ สั่งไม่ให้ทำเรียก ห้ามปราม ทำให้เลือดหยุดเรียก ห้ามเลือด อย่างว่า กูก็อธิษฐานแล้วทานตนตามช่าง มึงถ้อน เทื่อนี้กรรมฮอดแล้วรือห้ามห่อนเป็น (สังข์). -
หาย
แปลว่า : สูญ หาไม่พบ ไม่ปรากฏ หมดสิ้น พ้นจากโรค อย่างว่า น้องก็ฮักฮูปเจ้าล้านท่อทนอก ว่าจักหายอาฮมส่วนกระหายหิวข้อน เทื่อนี้วันตกมื้อเดือนได้ขวบ ยามหนึ่งฮ้อนกระหายแล้วเล่าหนาว (ฮุ่ง). -
หาว
แปลว่า : ที่แจ้ง ท้องฟ้า อย่างว่า ย่องย่องผ้ายอากาศกลางหาว (สังข์) สะยานกลางหาวแกว่งตาวปุนเปื้อง (กา).