ภาษาอีสานหมวด "อ" 41 - 50 จาก 995
-
อ่งล่ง
แปลว่า : ลักษณะของสิ่งของที่พองโตไหลไปตามน้ำ เรียก ลอยอ่งล่ง ลอยโอ่งโล่ง ก็ว่า ถ้าขนาดเล็กว่า ลอยอ่องล่อง ลอยอ่องล่องแอ่งแล่ง ก็ว่า. -
อนอัว
แปลว่า : อึงอล พูดกันเสียงดังฟังไม่ได้ศัพท์ เรียก อนอัว. -
อวกยวก
แปลว่า : สิ่งของที่มีลักษณะอ่อน กองรวมกันเป็นจำนวนมาก เรียก กองอวกยวก ถ้าเล็กเรียก กองออกยอก กองเอาะเยาะ ก็ว่า. -
อวกลวก
แปลว่า : สิ่งของที่มีลักษณะไม่สดใสเกิดเพราะถูกควันไฟรม ถ้าใหญ่เรียก อวกลวก เล็กเรียก ออกลอก. -
อ่วนส่วน
แปลว่า : สุกใส เปล่งปลั่ง แก้มที่เปล่งปลั่ง เรียก แก้มอ่วนส่วน อย่างว่า แก้มอ่วนส่วนแก้มเจ้าอ่วนส่วน สวนกล้วยทะนีหวาน แม่เจ้ากินทานสังจั่งผู้งามปานนี้ (กลอน). -
อวย
แปลว่า : ให้พร อย่างว่า อย่าได้ถือเขาพุ้นเป็นใจมันบ่แม่น โทษเขามีท่อฟ้าอย่าจาต้านให้ป่วยการ เขาบ่อวยพรให้ทุนฮอนเบี้ยบาท มีแต่แถมโทษให้ยามเขาฮู้เมื่อลุน (ย่า). -
อ้วยซ้วย
แปลว่า : คนอ้วนคนพีนอน เรียก นอนอ้วยซ้วย ถ้าเด็กนอน เรียก นอนอ้อยซ้อย. -
ออง
แปลว่า : กระดอง กระดองเต่า เรียก อองเต่า กระดองปลาฝาหรือตะพาบน้ำ เรียก อองปลาฝา ฟายมือ เรียก อองมือ อ็อง ก็ว่า. -
อ่อง
แปลว่า : ผุดผ่อง สดใส เปล่งปลั่ง เรียก อ่อง. -
อ้อง
แปลว่า : เปลือกไม้เปลือยหรือเปลือกอะไรก็ได้เอามาเจาะรูทั้งสองข้าง ข้างละสองรูเอาเชือกร้อยเข้ากับแอกเวลาไถนาหรือคราดนา เรียก อ้องฮัดคอควาย เรียกผ้าคาดอกทารกว่า ผ้าอ้อง ผ้าเอี้ยม ก็ว่า.