ภาษาอีสานหมวด "อ" 51 - 60 จาก 995
-
อ่อง
แปลว่า : เจ้า (จ.). -
อ่องต่อง
แปลว่า : แก้มที่มีลักษณะสดใส เรียก แก้มอ่องต่อง. -
อ้องถ้อง
แปลว่า : เล็กและตื้น เช่น หลุมเล็กและตื้น เรียก หม้องอ้องถ้อง หม้งอ้องถ้อง ก็ว่า เช่น หม้องกบ หม้งเขียด เป็นต้น. -
อ้องแอ้ง
แปลว่า : อ้อนแอ้น แบบบาง คนที่มีลักษณะบอบบาง เดินไปมาทำกิริยาทาทางอ้อนแอ้น เรียก อ้องแอ้ง อย่างว่า งามอ้อนแอ้นแอวอ่อนอรชอน (ผาแดง). -
ออด
แปลว่า : พร่ำอ้อนวอน พร่ำรำพัน การพูดอ้อนวอนแล้วๆ เล่าๆ เรียก เว้าออดออด อย่างว่า นางก็ออดออดต้านจาต่อขูลู (ขูลู). -
ออดหลอด
แปลว่า : เกลี้ยงกลม คนที่มีลักษณะเกลี้ยงกลม เรียก งามออดหลอด อย่างว่า ออดหลอดเนื้องามล้นลื่นคน (สังข์) ออดหลอดเนื้อเพียงสิ่งสาวสวรรค์ (กา). -
อ้อนต้อน
แปลว่า : การใช้ไม้หามข้างเดียวเรียก คอน สิ่งของที่คอนไปขนาดเล็กเรียก อ้อนต้อน ถ้าใหญ่เรียก โอ้นโต้น อย่างว่า ท้าวก็คอนอ้อนต้อนลาน้องสั่งเมือ (ขุนทึง). -
อ้อนแอ้น
แปลว่า : แบบบาง ชดช้อย ผู้มีลักษณะบอบบางละมุนละไม เรียก อ้อนแอ้น อย่างว่า งามอ้อนแอ้นแมนหล่อเหลาโฉม (ขุนทึง). -
อ้อปล่อง
แปลว่า : ชื่อมนต์ชนิดหนึ่ง เสกแล้วทำให้จิตใจมั่นคงมีสติปัญญาดี จดจำหนังสือหรือเรื่องราวต่างๆ ได้ดี ไม่มีลืมเลือน อ้อปล้องก็มีคายเหมือนกันกับอ้อเทศน์ สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าสอนอ้อปล้องให้พระจุลกาล นัยว่าพระจุลกาลมีปัญญาทึบจดจำอะไรไม่ได้ พระองค์จึงสอนมนต์อ้อปล้องให้ พระจุลกาลเสกมนต์ที่พระพุทธเจ้าให้บริกรรมผ้าขาวเป็นเวลานานถึงสามเดือน ปรากฏว่าพระจุลกาลได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีปัญญาเฉลียฉลาดและบรรลุพระอรหันต์ด้วย. -
อ้อป้อ
แปลว่า : เตี้ย เล็ก เรียกคนที่มีรูปร่างเตี้ยและเล็กว่า ต่ำอ้อป้อ ต้อป้อ ก็ว่า.