ภาษาอีสานหมวด "อ" 498 - 507 จาก 995

  • เอี้ยง
    แปลว่า : ชื่อนกจำพวกหนึ่ง สีดำ ปากเหลืองคล้ายนกแก้ว มีหลายชนิด เช่น นกเอี้ยงโม่ง นกเอี้ยงขี้ตาความย นกเอี้ยงหลอด นกเอี้ยงสาลิกา อย่างว่า ฝูงนี้เคยเลียบน้ำซอนซอกชานหนอง สูหากชุมชาวเดียวอย่าปองเป็นแพ้ กันเนอ ฝูงนั้นแกงกดเอี้ยงอำพาโพนโดก เปล้าป่าวไม้ลอลั้วบ่างบน (สังข์).
  • เอียน
    แปลว่า : เลี่ยน อาการที่มีรสมันและหวานกินลงไปมักจะคลื่นเหียนอาเจียน เรียก เอียน.
  • เอี่ยนด่อน
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เปลือกค่อนข้างขาว ใช้ทำยาได้ เรียก ต้นเอี่ยนด่อน.
  • เอี่ยม
    แปลว่า : ผ่อง ใหม่ สดใส ไม่หมองมัว เช่น ของยังไม่ได้ใช้ เรียก ของเอี่ยม.
  • เอี้ยว
    แปลว่า : บิดไป หันไป เบี่ยง เบี้ยว ก็ว่า เช่น คนปากบิด ว่า ปากเบี้ยว บักเบี้ยว ก็ว่า.
  • เอียะ
    แปลว่า : สำรอก สำรอกหรือรากข้าวหรือน้ำออกมา เรียก เอียะ.
  • เอียะ
    แปลว่า : เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความรังเกียจหรือขยะแขยง.
  • เอื้อ
    แปลว่า : เอาใจใส่ มีน้ำใจ เช่น อุดหนุนเจือจาน แสดงน้ำใจดีต่อ เรียก เอื้อ อย่างว่า พี่แอ่วเจ้าจอมมิ่งมีเหลียว แลนอ บาก็กลอยใจหนีบ่จาจงเอื้อ ฟังยินขีณีเอิ้นตามบาวีว่อน ขอแ่แก้วแก่นไท้ธรรม์อ้างโผดอวน แด่ถ้อน (สังข์).
  • เอื้อก
    แปลว่า : เสียงดังเช่นนั้น เช่น คนกลืนน้ำหรือกลืนน้ำลายลงไปโดยแรง เสียงดังเอื้อก.
  • เอื้อเคื้อ
    แปลว่า : สง่า ผ่าเผย สวย งาม หญิงที่มีลักษณะสง่าผ่าเผย เช่น นางมะที ท่านกล่าวไว้ว่า นางมะที บ่สูงบ่ต่ำบ่ก่ำบ่ขาวบ่ผอมบ่พี ค้อมพอดีพองามทุกแห่ง อย่างว่า เมื่อนางไกวแขนไปเอื้อเคื้อ สิ่งดั่งเทียนสิง เลาคีงกลมอ่อนอ้วน (เวส).