ภาษาอีสานหมวด "ร" 1 - 10 จาก 145
-
ร
แปลว่า : เป็นพยัญชนะอักษรต่ำ ใช้กับคำที่มาจากภาษาบาลี สันสกฤต เขมร และส่วย สำหรับภาษาอีสานใช้อักษร ฮ. เป็นพื้น ที่ใช้อักษร ร. มีน้อย. -
รจนา
แปลว่า : แต่ง ประพันธ์ (ป.ส.) ริจนา ก็ว่า อย่างว่า ริจนาแล้วยามแลงใกล้ชิค่ำ สาวคำเอย เขียนบ่จบปานใดแล้วแนวคนบวชใหม่ ใกล้ชิออกพรรษาปวารณามาฮอดแล้ว ตัวข้อยชิต่าวลา (กลอน). -
รถม้า
แปลว่า : เกวียนที่ใช้ม้าเทียมเรียก รถม้า อย่างว่า แม้งหนึ่งรถมาศม้าเมือฮอดโฮงขวาง เขาก็เชิญสองศรีสู่ครองคนล้น มหากษัตริย์พร้อมสองนางเมือแท่น นางหนุ่มล้นลีล้ายหลั่งตาม (สังข์). -
รถราช
แปลว่า : รถที่พระมหากษัตริย์ทรง เรียก รถราช ปกติก็เป็นเกวียนที่ประดับตกแต่งให้สวยงาม ไม่ใช่รถยนต์ รถไฟ เหมือนทุกวันนี้ อย่างว่า บทก็ทวายทรงตั้งตนเฮียงรถราช ม้าเผ่นผ้ายผายล้ำล่วงไป (สังข์). -
รส
แปลว่า : สิ่งที่รู้ได้ด้วยลิ้น เรียก รส คือรู้เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ฮส ก็ว่า อย่างว่า ฮสดอกไม้ฟายฟ้งเบิกลม (กา). -
รหัส
แปลว่า : เหตุลับ ความลับ ความลึกลับ (ป. รหสฺส) อย่างว่า เมื่อนั้นหกพี่น้องฮู้ฮ่างความรหัส เห็นที่ภูมีเมามืดมนมัวใบ้ ก็จิ่งปุนคำฮ้อยหมอโหรลักลอบ พ่ออย่าชักเงื่อนถ้อยคำฮ้ายฮ่อดู แด่เนอ (สังข์). -
รอ
แปลว่า : คอย เช่น คอยรถคอยเรือ เรียก รอรถ รอเรือ อย่างว่า ตั๋วให้นางรออ้ายลอหลายเลยชิบอด รอไปฮอดมื้อเถ้าเซาจ้อยโซดบ่อเอา (ผญา). -
ระงม
แปลว่า : เสียงแซ่ เสียงกระหึ่ม อย่างว่า ฝนหอกง้าวระงมกุ้มหลั่งฮำ (กา) ฟังยินปุ่งปุ่งก้องโปงปู่ยาครู พุ้นเยอ ระงมเสียงตีม่วนยินยามเช้า สุริโยขึ้นแสงทองแจ้งส่อง สีเมฆฟ้าแดงล้อมเหลี่ยมเขา (ย่า). -
ระดู
แปลว่า : ส่วนของปีที่แบ่งตามลักษณะอากาศ ระดูละ ๔ เดือน ระดูหนาว ๔ เดือน ระดูฝน ๔ เดือน ระดูร้อน ๔ เดือน อย่างว่า หลิงดูฟ้ามืดกุ้มเป็นฮ่มนครหลวง พุ้นเยอ ระดูเดือนดลด่วนมาเถิงเค้า สาวกษัตรีย์เจ้าธรงภาร์พร้อมแก่ (สังข์). -
ระแด
แปลว่า : เดือดร้อน กระวนกระวาย อย่างว่า โฉมฮาบฮั้วง้อมม่วนอามคาย เขาก็ทนระแดดอมเดือดกระหายหิวไห้ ทังหลายพร้อมนางแกวนงถ่าว ไหว้แม่ผู้คีงค้อมคั่งสถาน (ฮุ่ง).