ภาษาอีสานวันละคำ 351 - 360 คำ จาก 2333

351 - 360 คำ จาก 2333
  • ภาษาอีสานวันละคำ 2024-02-02 "หยอก"
    แปลว่า : หลอก ล้อ เล่นหรือล้อไม่จริงจัง เรียก หยอก อย่างว่า ทุกที่พร้อมมีอาจเคืองแคลน ยูท่างชาวเป็งจาลแต่งกันการเหล้น สาระพันพร้อมสิงโขนขับปี่ ลางพ่องฟ้อนแย่งย้องเยียวยื้อหยอกสาว (สังข์).
  • ภาษาอีสานวันละคำ 2024-02-01 "กะเดา"
    แปลว่า : สะเดา ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง มีรสขม กินก่อนเป็นไข้ป้องกันไข้ได้ กินเมื่อเป็นไข้แล้วรักษาไข้ให้หายได้ อย่างว่า อย่าได้ติเตียนเว้าผักกะเดาขมขื่น บาดห่ากินกับลาบก้อยซิหลงย้องว่าดี อย่าฟ้าวไลเสียถิ้มผักกะเดาทวนเก่า บาดห่าได้ลาบก้อยยังซิโอ้อ่าวเถิง (ภาษิต)
  • ภาษาอีสานวันละคำ 2024-01-31 "แม้น"
    แปลว่า : ผิว่า ถ้าว่า แม้ว่า อย่างว่า แม้นว่าสังวาลเกี้ยวกวมคอฮ้อยฮอบ บ่ท่อแขนอุ่นเกี้ยวกวมอ้ายเมื่อนอน แม้นว่าของกินล้นเต็มพายูแต่ง บ่ท่อถ้วยแจ่วน้อยนางน้องสู่กิน (หมาหยุย) แม้นเมียเจ้ายังอิ่นอ้อย ชิเป็นน้อยปีด แท้แล้ว (สังข์).
  • ภาษาอีสานวันละคำ 2024-01-30 "ขัน"
    แปลว่า : พาน พานสำหรับใส่เครื่องสักการะ มีข้าวตอก ดอกไม้ ธูป ประทีป เทียน จัด 5 คู่ 8 คู่เรียก ขัน 8 เย็บใบกล้วยติดกันเป็นแหนบ เหน็บ ขันดอกไม้และธูปเทียนเข้าเรียก ขันหมากเบ็ง เพราะรวมเทียนและธูปพร้อมดอกไม้ 5 คู่เข้าไว้ในใบกล้วยที่ติดกันเป็นแหนบนี้.
  • ภาษาอีสานวันละคำ 2024-01-29 "เสมอหลึ่ม"
    แปลว่า : (โคราช) ไม่สนใจใครเลย ตีมึน เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา
  • ภาษาอีสานวันละคำ 2024-01-28 "หยุย"
    แปลว่า : เรียกหนังสือเรื่องหนึ่งในวรรณคดีอีสาน กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ไปเกิดเป็น หมาหยุย หนังสือเรื่องนี้มีชื่อว่า ท้าวหมาหยุย อีกอย่างหนึ่งหมายภึงหมาที่มีขนเป็นปุยตามตัวว่าหมาหยุย.
  • ภาษาอีสานวันละคำ 2024-01-27 "เส่า"
    แปลว่า : หอบ อาการหอบเกิดเพราะเหนื่อยมาก เรียก เส่า.
  • ภาษาอีสานวันละคำ 2024-01-26 "จับ"
    แปลว่า : การใช้มือแตะหรือถือเรียก จับ บาย ก็ว่า อย่างว่า เป็นแต่บุญบาคราญแต่หลังเหลือสร้าง มากวมกุ้มกุมตายักษ์ใหญ่ แลนอ นางก็จับแนบน้าวเซซ้ายฮอดสถาน (สังข์).
  • ภาษาอีสานวันละคำ 2024-01-25 "กระเปา"
    แปลว่า : กระเป๋ารูปสี่เหลี่ยม ทำด้วยหนังหรือผ้า สำหรับใส่สิ่งของ ถือไปก็มี คาดเอวก็มี ส่วนที่เย็บติดเสื้อหรือผ้า เรียก กระเปาเสื้อหรือกระเปาผ้า ถงเสื้อถงผ้า ก็ว่า.
  • ภาษาอีสานวันละคำ 2024-01-24 "บั่ว"
    แปลว่า : หัวหอม หัวหอมเรียก ผักบั่ว มีหลายชนิด ชนิดมีหัวก็มี ไม่มีหัวก็มี ชนิดมีหัวสีแดงเรียก ผักบั่วแดง สีขาวเรียก ผักบั่วขาว ชนิดไม่มีหัวเรียก ผักบั่วเลย.