ภาษาอีสานมาใหม่ 11113 - 11122 จาก 17431

  • เบี้ย
    แปลว่า : หอยจำพวกหนึ่งหลังนูน ท้องเป็นร่องๆ เปลือกแข็ง โบราณใช้เบี้ยนี้เป็นเงินสำหรับซื้อขาย มีอัตรา 100 เบี้ยเป็น 1 อัฐ คนจึงเรียก เงินเบี้ย ติดปากมาจนทุกวันนี้.
  • เบิ้ง
    แปลว่า : บ้าง (โคราช).
  • เบิกแพนก
    แปลว่า : จุดบั้งไฟ ขุดบั้งไฟเรียก เบิกแพนก อย่างว่า กับทังเบิกแพนกพร้อมวันซ้ำส่งบุญ (ผาแดง).
  • เบิก
    แปลว่า : ขับ ไล่ อย่างว่า เพราะเพื่อปิตุราชเจ้าใจฮ้ายเบิกหนี (กา) เทื่อนี้พ่อเบิกเว้นเวียงใหญ่พลอยผาง นี้แล้ว (สังข์) ความผิดบ่มีท่อก้อยชาวบ้านชิเบิกหนี (เวส-กลอน).
  • เบิก
    แปลว่า : เปิด ทำให้กว้าง เปิดออก ขอให้จ่าย ให้การเป็นพยานเรียก เบิกความ แช่มชื่น สว่างใจ เรียก เบิกบาน นำพยานไปให้การเรียก เบิกพยาน เบิกพิยาน ก็ว่า.
  • เบาราณ
    แปลว่า : โบราณ.
  • เบ้า
    แปลว่า : ดินหรือโลหะ ปั้นเป็นรูปกลมคล้ายรังของลูกเบ้า สำหรับใช้หลอมเงินหรือทอง ตีเป็นสร้อย แหวน ตุ้มหู โอ หรือขันชนิดต่างๆ.
  • เบ้า
    แปลว่า : รังของตัวด้วงขี้ควายชนิดหนึ่ง ตัวด้วงทำรังด้วยดินปนขี้ควาย รังของด้วงกลมเหมือนลูกฟุตบอลขนาดเล็ก ตัวของด้วงเรียก เบ้า ขณะตัวยังเล็กเรียก เบ้าลูกขี้ เมื่อตัวแก่เรียก เบ้าลูกนาง ใช้กินเป็นอาหารได้.
  • เบ่า
    แปลว่า : ไม่ คำนี้มักใช้ในหนังสือเก่า อย่างว่า บาเจืองให้หาญพายมากล่าว แม่ชอบให้เมือหน้าเบ่าเถียง ว่าเนอ (ฮุ่ง).
  • เบา
    แปลว่า : น้ำปัสสาวะ น้ำปัสสาวะเรียกว่า เบา น้ำเบา ก็ว่า ถ่ายปัสสาวะ เรียก ถ่ายเบา.