ภาษาอีสานมาใหม่ 11633 - 11642 จาก 17431

  • บ่าย
    แปลว่า : คลุก เอาข้าวเหนียวคลุกเกลือเรียก บ่ายเกลือ อย่างว่า ปลาดุกปิ้งเต็มไฟบ่อยาก สังมาดะดั่นดิ้นกินเข้าบ่ายเกลือ (ผญา).
  • บ่าย
    แปลว่า : เวลาระหว่างเที่ยงกับเย็น เรียก เวลาบ่าย ตาเว็นค้าย ก็ว่า อย่างว่า พอเมื่อวันเวียนค้ายลับเหลี่ยมเสาเสมรุ (สังข์). (กริยา) คลุก เอาข้าวเหนียวคลุกเกลือเรียก บ่ายเกลือ อย่างว่า ปลาดุกปิ้งเต็มไฟบ่อยาก สังมาดะดั่นดิ้นกินเข้าบ่ายเกลือ (ผญา).
  • บาย
    แปลว่า : จับ หยิบ ฉวยเอา อย่างว่า ชิถิ้มกะเสียดาย ชิบายกะขี้เดียด (ภาษิต) บายแม่นแล่นหนี บายผิดติดมือ (ภาษิต) ชาติที่ของอยู่ใกล้มือแล้วช่างบาย (กา) มารดาหายกังวลชื่นบานบายนิ้ว (สังข์).
  • บาย
    แปลว่า : ข้าว (ข.).
  • บ้าย
    แปลว่า : เบี่ยง เฉียง เช่น ห่มผ้าเฉียงบ่าเรียก ห่มผ้าเบี่ยงบ้าย อย่างว่า คีงบางบิงเบี่ยงสะใบนวลเนื้อ (กา).
  • บา
    แปลว่า : เว้น เช่น ไข้หนึ่งวันเว้นหนึ่งวัน เรียก ไข้บาวัน.
  • บา
    แปลว่า : ใช้นำหน้าชื่อผู้ชาย เรียก บา อย่างว่า ประดับส่ำข้าถือดาบตาวตาม บาก็เกรงใจไปสู่นางเดินดั้น แม้งหนึ่งเถิงสถานกว้างดอนงามแฮงจอด คอนก็เซาแง่ชั้นทางน้อยล่วงดอน (ฮุ่ง).
  • บั่ว
    แปลว่า : ขนที่ขึ้นอยู่ตามร่างกายทั่วไป มีลักษณะอ่อน เรียก ขนบั่ว.
  • บั่ว
    แปลว่า : ชื่อหญ้าชนิดหนึ่งเรียก หญ้าบั่ว ชอบเกิดตามหนองน้ำ ใบคล้ายใบผักบั่วแต่แข็งกว่า.
  • บั่ว
    แปลว่า : หัวหอม หัวหอมเรียก ผักบั่ว มีหลายชนิด ชนิดมีหัวก็มี ไม่มีหัวก็มี ชนิดมีหัวสีแดงเรียก ผักบั่วแดง สีขาวเรียก ผักบั่วขาว ชนิดไม่มีหัวเรียก ผักบั่วเลย.