ภาษาอีสานมาใหม่ 11651 - 11660 จาก 17431

  • บัก
    แปลว่า : เป็นคำเรียกชื่อชายที่มีอายุเสมอกันหรือต่ำกว่ากันว่า บักสี บักสา บักมี บักมา ถือว่าเป็นคำพูดพื้นๆ ไม่หยาบคาย.
  • บ้อน
    แปลว่า : ผุดขึ้น อาการที่ปลาผุดขึ้นเหนือน้ำเพื่อหายใจเรียก ปลาบ้อน อย่างว่า ปลาดีดบ้อนในน้ำฟั่งเฟือน (กา) ปลาดุกบ้อนชมบอนหลังหาด ปลาหลาดบ้อนชมหมากก้านเหลือง เคืองใจเจ้าเวากันสาก่อน คันพ่อแม่เจ้าบ่พร้อมบุญส้วมอ้ายบ่มี (ผญา).
  • บ้อง
    แปลว่า : รูที่กลวงสำหรับใส่ด้าม เรียก บ้อง ของมีดเรียก บ้องมีด ของขวานเรียก บ้องขวาน ของเสียมเรียก บ้องเสียม อย่างว่า ขวานหล่นบ้องไปถืกท้องกวาง ฟานกินหมากขามป้อมไปคาคอมั่ง มั่งบ่ขี้สามมื้อกระต่ายตาย กระต่ายตายแล้วเหนอ้มเน่านำ (ปัญหา).
  • บ่อง
    แปลว่า : แทง เจาะ สับ เช่น เจาะใบหูให้เป็นรูเรียก บ่องหู ผู้หยิงอีสานโบราณชอบบ่องหู เพราะหูที่บ่องแล้วมีประโยชน์ในการใส่กระจอน ตุ้มหู ต้างหู ส่วนผู้ชายไม่นิยม แต่พวกพม่าบ่องหูทั้งผู้ชายและผู้หญิง.
  • บ่อง
    แปลว่า : รู ช่อง องคชาตของผู้ชายที่ใช้เหล็กเจาะให้ให้เป็นรู เรียก แบ้นบ่อง หน้าอกที่ลึกลงไปกว่าปกติธรรมดา เรียก เอิกบ่อง.
  • บอง
    แปลว่า : ใช้กาบกล้วยหรือกาบหมากเสริมปากกะต่ากะบุงให้สูง เรียก บองปากต่าปากกะบุง ใช้ไม้กระดานเสริมแคมเรือให้สูงขึ้นเรียก บองเฮือ.
  • บอง
    แปลว่า : พี่ คู่กับคำว่า อวนหรือผอวน คือ น้อง พี่กับน้องมาเป็นคู่กันเหมือน บองกับอวน (ข.).
  • บอง
    แปลว่า : ชื่อน้ำพริกชนิดหนึ่ง เรียก แจ่วบอง ใช้ปลาร้าปรุงด้วยเครื่อง มีพริก กระเทียม และงาคั่ว เก็บไว้กินได้เป็นปีๆ.
  • บวย
    แปลว่า : ขันตักน้ำ เรียก บวย บวยส่วนมากคนโบราณทำด้วยกะลามะพร้าว เพราะกะลามะพร้าวอมความสกปรกไว้น้อยมาก อย่างว่า บวยบ่มีด้ามชิเสียทรงทังวาด เขาชิเอิ้นกะโป๋หมากพร้าวบ่มีเอิ้นว่าบวย (ย่า).
  • บวก
    แปลว่า : ปลัก แอ่งน้ำขนาดเล็กสำหรับควายนอน เรียก บวกควาย อย่างว่า ควายย้ายไปหาบวก บวกบ่ห่อนย้ายไปหาควาย (ภาษิต) นกหนูบ่ห่อนหนีไกลห้วยหากินไกลถิ่น ควายบ่ห่อนหนีบวกน้ำกินหั้นพร่ำนอน (ภาษิต).