ภาษาอีสานมาใหม่ 11655 - 11664 จาก 17431
-
บ่อง
แปลว่า : รู ช่อง องคชาตของผู้ชายที่ใช้เหล็กเจาะให้ให้เป็นรู เรียก แบ้นบ่อง หน้าอกที่ลึกลงไปกว่าปกติธรรมดา เรียก เอิกบ่อง. -
บอง
แปลว่า : ใช้กาบกล้วยหรือกาบหมากเสริมปากกะต่ากะบุงให้สูง เรียก บองปากต่าปากกะบุง ใช้ไม้กระดานเสริมแคมเรือให้สูงขึ้นเรียก บองเฮือ. -
บอง
แปลว่า : พี่ คู่กับคำว่า อวนหรือผอวน คือ น้อง พี่กับน้องมาเป็นคู่กันเหมือน บองกับอวน (ข.). -
บอง
แปลว่า : ชื่อน้ำพริกชนิดหนึ่ง เรียก แจ่วบอง ใช้ปลาร้าปรุงด้วยเครื่อง มีพริก กระเทียม และงาคั่ว เก็บไว้กินได้เป็นปีๆ. -
บวย
แปลว่า : ขันตักน้ำ เรียก บวย บวยส่วนมากคนโบราณทำด้วยกะลามะพร้าว เพราะกะลามะพร้าวอมความสกปรกไว้น้อยมาก อย่างว่า บวยบ่มีด้ามชิเสียทรงทังวาด เขาชิเอิ้นกะโป๋หมากพร้าวบ่มีเอิ้นว่าบวย (ย่า). -
บวก
แปลว่า : ปลัก แอ่งน้ำขนาดเล็กสำหรับควายนอน เรียก บวกควาย อย่างว่า ควายย้ายไปหาบวก บวกบ่ห่อนย้ายไปหาควาย (ภาษิต) นกหนูบ่ห่อนหนีไกลห้วยหากินไกลถิ่น ควายบ่ห่อนหนีบวกน้ำกินหั้นพร่ำนอน (ภาษิต). -
บ้ง
แปลว่า : บุ้ง บุ้งเรียก บ้ง บ้งเป็นสัตว์จำพวกหนอน มีหลายชนิด คือ บ้งกือก้อมและบ้งกือธรรมดา บ้งขน บ้งคืบ บ้งเล็น บ้งหาญ อย่างว่า ชาติที่แนวนามบ้งแปลงตัวกาชิตอดกินแล้ว เฮ็ดให้เป็นสิ่งม้อนใยหุ้มห่อตัว หั้นแล้ว (ภาษิต). -
บ่ง
แปลว่า : เจาะ แทง เมื่อถูกเสี้ยนหรือหนามแทง ต้องใช้เหล็กหรือหนามเจาะเอาเสี้ยนออก การใช้เหล็กหรือนามเจาะเรียก บ่ง. -
บก
แปลว่า : ลด เบา บาง ลดจำนวนลง เช่น พลรบมีจำนวนหมื่น ลดลงเหลือจำนวนพัน เรียก บก อย่างว่า มารมอดล้มดูบ่าเบาบก (สังข์). -
บก
แปลว่า : งวด แห้ง น้ำงวดน้ำแห้งเรียก น้ำบก อย่างว่า น้ำมาปลากินมด น้ำบกมดกินปลา (ภาษิต).