ภาษาอีสานมาใหม่ 11645 - 11654 จาก 17431

  • บั้ง
    แปลว่า : ต้นกล้าแก่จนเป็นปล้องเรียก กล้าบั้ง.
  • บั้ง
    แปลว่า : กระบอกไม้ไผ่มีฝาปิด ใส่เกลือ เรียก บั้งเกลือ ใส่แจ่ว เรียก บั้งแจ่ว ใส่น้ำ เรียก บั้งทิง กระบอกไม้ไผ่ยาว 3-4 ปล้อง ที่ปากมีงาแซงสำหรับใส่เอี่ยน เรียก บั้งลัน สำหรับใส่ใบลานที่จดวันเดือนปีเกิดเรียก บั้งซาตา.
  • บัง
    แปลว่า : บาง ลำห้วย ลำคลอง ทางที่มีน้ำไหลเป็นลำห้วยลำคลองเรียก บัง เช่น บังอี่ บังมุก บังทราย เป็นต้น.
  • บักแบ่น
    แปลว่า : เล็ง หมาย การเล็งหรือหมายเรียก บักแบ่น อย่างว่า หมอลำนี้ความมีหาใส่ บ่ได้บักแบ่นหน้ามือชี้ใส่ใผ (กลอน).
  • บัก
    แปลว่า : ฟันไม้ให้คอดหรือให้กิ่ว เรียก บัก เช่น บักกกมี้ บักกกม่วง บักกกทัน.
  • บัก
    แปลว่า : สิ่งของซึ่งมีลักษณะเหมือนจะเป็นเพศชายแต่ไม่ใช่ เรียก บัก เช่น บักหวิน บักแหวว บักปิ่น บักปี่ บักอี่ ส่วนผลไม้จะเรียก หมาก หมากมี้ หมากม่วง หมากคูณ หมากยอ หมากทัน หมากเว่อ หมากไฟ หมากเดื่อ หมากดู่ จึงจะถูก.
  • บัก
    แปลว่า : เป็นคำเรียกชื่อชายที่มีอายุเสมอกันหรือต่ำกว่ากันว่า บักสี บักสา บักมี บักมา ถือว่าเป็นคำพูดพื้นๆ ไม่หยาบคาย.
  • บ้อน
    แปลว่า : ผุดขึ้น อาการที่ปลาผุดขึ้นเหนือน้ำเพื่อหายใจเรียก ปลาบ้อน อย่างว่า ปลาดีดบ้อนในน้ำฟั่งเฟือน (กา) ปลาดุกบ้อนชมบอนหลังหาด ปลาหลาดบ้อนชมหมากก้านเหลือง เคืองใจเจ้าเวากันสาก่อน คันพ่อแม่เจ้าบ่พร้อมบุญส้วมอ้ายบ่มี (ผญา).
  • บ้อง
    แปลว่า : รูที่กลวงสำหรับใส่ด้าม เรียก บ้อง ของมีดเรียก บ้องมีด ของขวานเรียก บ้องขวาน ของเสียมเรียก บ้องเสียม อย่างว่า ขวานหล่นบ้องไปถืกท้องกวาง ฟานกินหมากขามป้อมไปคาคอมั่ง มั่งบ่ขี้สามมื้อกระต่ายตาย กระต่ายตายแล้วเหนอ้มเน่านำ (ปัญหา).
  • บ่อง
    แปลว่า : แทง เจาะ สับ เช่น เจาะใบหูให้เป็นรูเรียก บ่องหู ผู้หยิงอีสานโบราณชอบบ่องหู เพราะหูที่บ่องแล้วมีประโยชน์ในการใส่กระจอน ตุ้มหู ต้างหู ส่วนผู้ชายไม่นิยม แต่พวกพม่าบ่องหูทั้งผู้ชายและผู้หญิง.