ภาษาอีสานมาใหม่ 12211 - 12220 จาก 17431

  • เติบ
    แปลว่า : พูดเกินพอดี เรียก ต้านเติบ อย่างว่า สังมามัวเมาแท้ทนงตนต้านเติบ (สังข์) กินค่อนข้างมากเรียก กินหลายเติบ ทางค่อนข้างไกลเรียก ทางไกลเติบ ของค่อนข้างหนักเรียก หนักเติบ รักค่อนข้างมากเรียก มักหลายเติบ.
  • เติ่นเติ่น
    แปลว่า : เกินขอบเขตม เกินพอดี อย่างว่า ไต่ขัวแป้นเมือนาเติ่นเติ่น หัวเราะเสียงดังโดยไม่คิดว่าจะมีใครหนวกหูหรือไม่ เช่น หัวเติ่นเติ่น.
  • เติน
    แปลว่า : เตือน ป่าวร้อง บอกให้รู้ ป่าวร้องเรียก เติน อย่างว่า วันนี้เฮาจักเตินฝูงเชื้อประดับปุนไปม่วน ให้แต่งห้างหุมย้องซู่ซุมแด่เนอ (สังข์) ตักเตือกนเรียก เติน อย่างว่า ผิดถึกแท้แพงล้านหมั่นเตินแด่ถ้อน (ฮุ่ง).
  • เติดเหลิด
    แปลว่า : เตลิด ไปโดยไม่มีจุดหมายปลายทาง ค่ำไหนนอนนั่น เรียก เติดเหลิด เติดเหลิดเปิดเปิง ก็ว่า.
  • เติ่งเคิ่ง
    แปลว่า : ค้างเติ่ง
  • เติ่ง
    แปลว่า : กาง กว้าง ใหญ่ ใบหูกางเรียก ใบหูเติ่ง.
  • เตาะเหลาะ
    แปลว่า : งาม เกลี้ยงเกลาแต่เล็ก เรียก เตาะเหลาะ ถ้าใหญ่ว่า ตุหลุ อย่างว่า ตุหลุเจ้าผู้พั้วดอกต้าง โงใส่ใผตั้งแต่ฮ้างบุญส้วมน้องบ่มี (ผญา).
  • เต๊าะเยาะ
    แปลว่า : ลักษณะของหอหรือโฮงที่ปลูกขึ้น ถ้าเล็กเรียก เต๊าะเยาะ ถ้าใหญ่เรียกว่า โต๊ะโย๊ะ.
  • เต๊าะเมาะ
    แปลว่า : ของที่มีลักษณะนูนแต่เล็กเรียก เต๊าะเมาะ ถ้าใหญ่ว่า โต๊ะโมะ โต๋โหม ก็ว่า.
  • เต๊าะแต๊ะ
    แปลว่า : อาการเดินของเด็กที่เพิ่งสอนเดิน ว่า ย่างเต๊าะแต๊ะ.