ภาษาอีสานมาใหม่ 12861 - 12870 จาก 17431

  • แซวแซว
    แปลว่า : เสียงทักท้วง เสียงพูดจาเอ้ดอึง เสียงบ่าวสาวหัวเราะ เสียงสั่งลา อย่างว่า แซวแซวเอิ้น ออระชอนเสียงสั่ง น้ำเนตรย้อยฮำหน้าถั่งแถว (สังข์).
  • แซวแซว
    แปลว่า : เสียงนกถัวร้อง เสียงนกร้อง.
  • แซวแซว
    แปลว่า : เสียงเด็กร้องไห้ อย่างว่า พอเมื่อราตรีข้อนแซวแซวสะดุ้งตื่น เอิ้นพ่อไห้หิวฮ้องแหบดาย (สังข์).
  • แซวแซว
    แปลว่า : เสียงร้องไห้ อย่างว่า เทื่อนี้ฟ้าหล่มขว้ำดินขาดแสนปวง แลนอ ดูดั่งจักรวาลหลวงหล่มเพเสียท้าว แซวแซวให้ในดงเต็มป่า สองแจ่มเจ้าพรมน้ำอย่าดน (ฮุ่ง).
  • แซว
    แปลว่า : ไม้สำหรับตีกรรเชียงเรือ เรียก แซวเฮือ แจวเฮือ ก็ว่า อย่างว่า แซวเยอ ฝูงไทล้ายขันโทมทังถ่อ แซวถ้อน (สุด).
  • แซว
    แปลว่า : กระแซว ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ต้นหมากแซว มีผลกินได้.
  • แซว
    แปลว่า : นกแซงแซว ชื่อนกชนิดหนึ่งเรียก นกแซว อย่างว่า ฟังยินซว่าซว่าชั้นเสียงคณาในเถื่อน แซวแทดท้วงถัวเถ้าเล่าลาง (สังข์).
  • แซมแลม
    แปลว่า : คนชอบพูดสอดแทรก เช่น เมื่อผู้ใหญ่พูดกันก็มักพูดสอดแทรก อย่างว่า เหลียวเห็นหน้าแซมแลมย้านแต่แก่ม ความกินบ่แก่มเจ้า ความเว้าแก่มซู่คน (กลอน).
  • แซม
    แปลว่า : เรือเพียบน้ำจวนจะล่มเรียก เฮือแซม อย่างว่า เฮือชิหล้มแฮ่งเหยียบแคมเฮือชิแซมแฮ่งหย้มท้าย (ภาษิต).
  • แซม
    แปลว่า : แทรก ปน ผมขาวกับผมดำปนกันเรียก ผมแซมหมากงา ขนดำกับขนแดงแทรกกัน เรียก ขนแซมเลา อย่างว่า โตใดแซมเล้าแท้มงคลแสนประเสริฐ (เวส) ลางนางเที้ยนดาตนตั้งก่อน ทัดดอกไม้แซมซ้ายชุ่มมัน (ฮุ่ง).