ภาษาอีสานมาใหม่ 12871 - 12880 จาก 17431

  • แซบซ้อย
    แปลว่า : อาหารที่มีรสอร่อยจัดเรียก แซบซ้อย อย่างว่า ดูแซบซ้อยก้อยลาบแกงจืน (ผาแดง) ของแซบซ้อยเซ็งต้านแต่เพ็งแท้แล้ว (สังข์).
  • แซบ
    แปลว่า : อร่อย, รสชาติดี ใช้กับอาหารที่มีรสอร่อย โดยทั่วไปจะพบเห็นคำว่า แซ่บ มากกว่าคำว่า แซบ ซึ่งสำเนียงอีสานจะออกเสียงลากยาว จะไม่ได้ออกเสียงสั้นเหมือนอย่างที่เห็นกันทั่วไปตามสื่อ ดังนั้นที่ถูกต้องจึงเขียนว่า แซบ ไม่ใช่ แซ่บ
  • แซ้นแม้น
    แปลว่า : ลักษณะหน้าตาที่เผือดซีดเรียก หน้าแซ้นแม้น.
  • แซ้น
    แปลว่า : ตักเอาแต่น้อย เช่น ใช้พั่วตักเอาดินแต่น้อยเรียก แซ้นดิน ตักแกงแต่น้อยเรียก แซ้นแกง.
  • แซดแซด
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงฝนตกลินดังแซดแซด หรือเสียงหว่านข้าวเปลือกลงในน้ำเวลาตกกล้า ดังแซดแซด.
  • แซ่งแซะ
    แปลว่า : เร่ร่อน จรจัด คนเร่ร่อน ไปมาไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เรียก คนแซ่งแซะ.
  • แซง
    แปลว่า : ทะลาย ทะลายพร้าวเรียก แซงพร้าว อย่างว่า สวยลวยพร้าวซอนแซงก้านก่อง พุ้นเยอ (หน้าผาก) ทะลายข้าวโพดเรียก แซงเข้าโคด อย่างว่า เข้าโคดข้วงเหลือล้นก่องแซง แซงป่อนดั้วลงเท้าแค่ดิน (กา).
  • แซง
    แปลว่า : เชื้อสาย เหล่ากอ เผ่าพันธุ์คนเกิดเชื้อสายเดียวกัน เรียก แซงเดียวกัน อย่างว่า สาวสมสู้หลายแซงเวิงต่าง (กา).
  • แซง
    แปลว่า : กระแซง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ต้นแซง.
  • แซก
    แปลว่า : แวกแซง คนนอกเข้ามาเกี่ยวข้องเรียก แซก อย่างว่า ผีเฮือนบ่ดี ผีป่าแซก (ภาษิต).