ภาษาอีสานมาใหม่ 13181 - 13190 จาก 17431

  • ชี
    แปลว่า : นักบวชในพระพุทธศาสนาที่นุ่งเหลืองห่มเหลือง เรียก ชีสมณ์ คือสมณะที่ประพฤติปฏิบัติเพื่อสละกิเลส อย่างว่า ประดับถี่ถ้วน ครบเครื่องชีสมณ์ เขาก็นำเมือถวายที่ยำประนมน้อม มหากาตริย์เจ้าจงใจจักบวช ขุนขูดเล้มโกนเกล้าเกษพระองค์ (สังข์).
  • ชี
    แปลว่า : แม่น้ำชี แม่น้ำสายหนึ่งยาวประมาณ 765 กิโลเมตร เกิดจากเขาพญาผ่อในเขตเขาเพชรบูรณ์ ในจังหวัดชัยภูมิแม่น้ำนี้ไหลผ่านจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร ลงสู่แม่น้ำมูลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี.
  • ชิม
    แปลว่า : กิน ทดลอง เรียก ชิม อย่างว่า อดเจ้าลองชิมส้มหมากนาวสีหวานเว่อ ต้นต่างต้นมันสิส้มต่างกัน (ผญา).
  • ชิง
    แปลว่า : แย่ง แย่งเอาเรียก ชิง ยาด ก็ว่า อย่างว่า ลุกลุกถ้อนชิงยาดเอาอวนไว้แม เฮียมบ่มีใจคึดใคร่เมือเมืองบ้าน (สังข์) ลุกลุกถ้อนเขาชิยาดเอาอวน เขาชิชวนเอาชู้หนีไปชูผู้ใหม่ (กลอน).
  • ชิง
    แปลว่า : แข่ง แข่งขัน การแข่งขันเพื่อชิงดีชิงเด่น เรียก ชิง อย่างว่า โผ่โผ่เข้าเมืองใหญ่ประกันหลวง ฝูงแกวเขาลอบไปปีนต้าย เสียงนันเค้าชิงกันคับคั่ง พ่องแบกเที้ยนทังค้ายคู่คน (ฮุ่ง).
  • ชิ
    แปลว่า : เป็นกิริยานุเคราะห์ ใช้นำหน้ากิริยาอื่น เช่น ชิไป ชิมา ชิเว้า ชิกิน ใช้ชิ สิ ก็ว่า อย่างว่า คันชิเอาะอ่อมจ้ำอย่าได้ใส่น้ำหลาย มันชิเป็นแจงแลงบ่เป็นตาจ้ำ (กลอน).
  • ชำฮะ
    แปลว่า : ชำระ สะสาง อาบน้ำเพื่อให้ร่างกายสะอาด เรียก ชำฮะกาย ไล่ภูตผีปีศาจที่มาสิงให้ออกไป เรียก ชำฮะน้ำ สวดมนต์เพื่อปัดเป่าความเสนียดจัญไรเรียก สูตรชำฮะ ตัดสินความเรียก ชำฮะความ.
  • ช้ำ
    แปลว่า : สีแดงแก่ เรียก สีช้ำ สีช้ำเรียก สีหมากหว้าสุก อย่างว่า สีหมากหว้าชมพูหายาก สีม้อนเต้อหาได้คู่ยาม (กลอน).
  • ชาว
    แปลว่า : พวก หมู่ ผู้อยู่อาศัยในเมืองเรียก ชาวเมือง ผู้อยู่อาศัยในโลกเรียก ชาวโลก อย่างว่า แหนแห่แก้วกัลเยศทังเจ็ด ฮมฮมชาวนครจำปาป่าวกันมาเยี้ยม นงพราวผู้ขุนคอนต้านสั่ง เอิ้นสั่งชู้สาวซ้อยสั่งเมือ (สังข์).
  • ชายา
    แปลว่า : เมีย (ป.) อย่างว่า เพราะเพื่อปราศจากแก้วพลอยพรากชายา พระเอยนงจรเจียระจากกันไกลล้ำ ขอแก่มหาจักรเจ้าใจคามคนิงมาก จริงเถิ้น เชิญช่อยชี้บูฮาณน้าวหน่วงสม แด่ถ้อน (สังข์).